ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 74 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการแบ่งครัวเรือนออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) และครัวเรือน ไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) พบว่า มีสัดส่วนครัวเรือนแต่ละประเภทอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ร้อยละ 12.5 ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 82.3 ตามลำ �ดับ โดยครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด และครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) อยู่ในภาคใต้มากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับเกณฑ์เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) พบว่า มี “ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร” อยู่ที่ร้อยละ 10.0 และมี “ครัวเรือน ไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร” อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่าง ทั้งหมด ซึ่งครัวเรือนทั้งสองกลุ่มนี้ เป็นครัวเรือนที่อาจถูกละเลยมองข้ามและควร ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในบางมิติ มิติด้านดิจิทัล พบว่า ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) และ ครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็นครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยง ต่อการตกหล่นจากการช่วยเหลือของรัฐ เนื่องจากมีสัดส่วนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ต่อสมาชิกในครัวเรือนน้อยที่สุด คือ 0.42 และ 0.47 เครื่องต่อครัวเรือน ตามลำ �ดับ นอกจากนี้ ครัวเรือนทั้งสองประเภทดังกล่าว ยังเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของสมาชิกที่ไม่มีการใช้งาน อินเทอร์เน็ตสูงที่สุด คือ 0.50 และ 0.45 ตามลำ �ดับอีกด้วย 5.1 สรุปผลการวิเคราะห์ุ ปิ เ์ ครัวเรือนยากจนแฝงในประเทศไทยั วื อ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==