ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565
ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 75 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝง 2 กลุ่มที่สนใจ ได้แก่ ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) และครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) โดยปัจจัยหรือตัวแปรที่มาทำ �การศึกษาจำ �นวน 10 ตัวแปร ได้นำ �ตัวชี้วัด และหลักเกณฑ์ความขัดสนของแต่ละตัวชี้วัด ของดัชนีวัดความยากจนหลายมิติระดับโลก (Global Multidimensional Poverty Index) ซึ่งพัฒนาโดยโครงการพัฒนา แห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ไขความยากจน แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (OPHI) มาใช้เป็นกรอบสำ �หรับการพัฒนา โดยจะดำ �เนินการ ปรับให้สอดคล้องกับบริบทประเทศไทยและรายการข้อถามของโครงการสำ �รวจภาวะ เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2565 สำ �หรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) โดยใช้การถดถอยโลจิสติกส์ทวิภาค (Binary Logistic Regression) พบว่า จากตัวแปรที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 10 ตัว มีตัวแปร 8 ตัวที่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝง ด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด การเข้าเรียน น้ำ �ดื่ม การสุขาภิบาล การกำ �จัดขยะ การใช้อินเทอร์เน็ต เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ส่วนตัวแปรอีก 2 ตัวที่ไม่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ได้แก่ รถยนต์ฯ โทรศัพท์มือถือ ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) โดยใช้การถดถอยโลจิสติกส์ทวิภาค (Binary Logistic Regression) พบว่า จากตัวแปรที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 10 ตัว มีตัวแปร 9 ตัวที่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด น้ำ �ดื่ม การสุขาภิบาล การกำ �จัดขยะ การใช้อินเทอร์เน็ต รถยนต์ฯ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โทรศัพท์มือถือ ส่วนตัวแปรที่ไม่มีผลต่อการเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่ อาหาร (ประเภทที่ 3) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% คือ การเข้าเรียน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบปัจจัยระหว่าง 2 แบบจำ �ลอง พบปัจจัยที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลในทางตรงกันข้าม ได้แก่ การไม่มีตู้เย็น กล่าวคือ ถ้าครัวเรือนไม่มีตู้เย็น จะมีโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) ลดลง แต่จะมีโอกาส ที่จะเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ปัจจัยิ เ์ ปัจั ย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==