ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 2 บทที่ 1 บทนำ � ความยากจน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก หลายครัวเรือน ยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำ �ดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ ขาดโอกาสทางการศึกษา เกิดความทุกข์ยากในการดำ �เนินชีวิต รวมถึงการขาดโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต ในหลาย ๆ ด้าน ความยากจน ยังก่อให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และยังเป็นปัญหาสังคมเนื่องจากความไม่เท่าเทียมกัน นำ �ไปสู่การเพิ่มขึ้นของปัญหา อาชญากรรม สำ �หรับประเทศไทย แม้ว่าครัวเรือนยากจนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีครัวเรือนอีกจำ �นวนไม่น้อยที่ยังติดอยู่ในกับดักของความยากจน ซึ่งภาครัฐได้ให้ ความสำ �คัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม การวิเคราะห์ ความยากจนแฝงของครัวเรือน เป็นการวิเคราะห์ความยากจน ของครัวเรือนในประเทศไทย ในมิติด้านอาหารและด้านที่ไม่ใช่อาหาร โดยทำ �การแบ่ง ประเภทครัวเรือนออกเป็น 4 ประเภท ด้วยเกณฑ์เส้นความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty Line: FPL) และเกณฑ์เส้นความยากจนด้านที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food Poverty Line: NFPL) ตามวิธีการคำ �นวณของสำ �นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การแบ่งประเภทครัวเรือนออกเป็น 4 ประเภทดังกล่าว ทำ �ให้สามารถเห็นถึง “ความยากจนแฝง” ที่มีอยู่ในครัวเรือนได้ กล่าวคือ แม้ว่าครัวเรือนจะไม่เป็นครัวเรือน ยากจน (มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนสูงกว่าหรือเท่ากับเส้นความยากจน (Poverty Line: PL)) แต่ครัวเรือนนั้นก็อาจจะเป็นครัวเรือนที่มี “ความยากจนแฝง” ด้านอาหาร (Food) หรือด้านที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food) ก็ได้ ซึ่งครัวเรือนยากจนแฝงเหล่านี้ สมควรได้รับ ความช่วยเหลือจากภาครัฐในบางมิติเช่นเดียวกับครัวเรือนยากจน ภายใต้หลักการ “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leaving No One Behind) ขององค์การสหประชาชาติ 1.1 ความนำ ำ �

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==