ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565
ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 9 กรณีเช่นนี้ ครัวเรือนของ นาย ก. จึงมีความยากจนด้านอาหารแฝงอยู่ แม้ว่า ครัวเรือนนี้จะไม่เป็นครัวเรือนยากจนก็ตาม ครัวเรือนมีสมาชิก 3 คน (มารดา และบุตร 2 คนในวัยเด็ก) มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน สูงกว่าเส้นความยากจน จึงไม่ถูกนับเป็นครัวเรือนยากจน แต่เนื่องจากมารดาต้องรับผิดชอบ บุตร 2 คนที่อยู่ในวัยกำ �ลังเจริญเติบโต ค่าใช้จ่ายเกือบทั้งหมดของครัวเรือนจึงเป็นค่าอาหาร (ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร สูงกว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร) เหลือค่าใช้จ่ายสำ �หรับสิ่งที่ไม่ใช่ อาหารจำ �นวนน้อยมาก (ค่าใช้จ่ายด้านที่ไม่ใช่อาหาร ต่ำ �กว่าเส้นความยากจนด้านที่ไม่ใช่ อาหาร) บุตร 2 คนจึงต้องใส่เสื้อผ้าที่เก่าโทรม ขาดผ้าห่มในฤดูหนาว และเข้าไม่ถึง เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งอาจไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากไม่มีค่าเดินทางไปโรงเรียน กรณีครัวเรือนดังกล่าวนี้ มีความยากจนด้านที่ไม่ใช่อาหารแฝงอยู่ แม้ว่าครัวเรือน นี้จะไม่เป็นครัวเรือนยากจนก็ตาม จากตัวอย่างทั้ง 2 ครัวเรือนจะเห็นได้ว่า แม้ครัวเรือนจะไม่ใช่ครัวเรือนยากจน ตามเกณฑ์เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) ของประเทศ แต่ก็มีความยากจนแฝง ของครัวเรือนในบางมิติ ซึ่งสมควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในบางมิติด้วยเช่นกัน และเป็นครัวเรือนที่ไม่ควรถูกทอดทิ้งตามหลักการสากล Leaving No One Behind ขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้น การจำ �แนกครัวเรือนโดยใช้เส้นความยากจน (Poverty Line: PL) ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนไม่ยากจน แม้จะสามารถนำ �ผลการ วิเคราะห์ไปใช้กำ �หนดนโยบาย/มาตรการช่วยเหลือได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถ บ่งชี้ได้ถึง “ความยากจนแฝง” ในบางมิติได้ จึงดำ �เนินการวิเคราะห์โดยการแยกมิติค่าใช้จ่าย ด้านอาหาร (Food Expenditure) และค่าใช้จ่ายด้านที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food Expenditure) เพื่อทำ �ให้เห็นความยากจนในมิติอื่นของครัวเรือนได้มากขึ้น สามารถ นำ �ข้อมูลการวิเคราะห์ไปใช้ในการจัดทำ �แผนหรือนโยบายลดความยากจนในมิติที่เกี่ยวข้อง อื่น ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น อนึ่ง ยังมีอีกหนึ่งแนวคิดที่เรียกว่า ความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการได้รับหรือบริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอตามเกณฑ์ 2 กรณีที่ที่ 2ี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==