ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 22 ครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) สูงที่สุด ร้อยละ 99.3 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่าง ในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง (ในเขตเทศบาล/นอกเขตเทศบาล) พบว่า ในปี 2565 นอกเขตเทศบาลยังคงมีสัดส่วนของครัวเรือนยากจนแฝงทุกประเภท มากกว่า ในเขตเทศบาล ยกเว้นครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) ที่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วน สูงกว่านอกเขตเทศบาล นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ ตามตารางที่ 3.1 พบว่า ในปี 2565 ครัวเรือน ไม่ยากจนที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) หรือ “ครัวเรือน ไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร” มีร้อยละ 10.0 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 10.8 ในปี 2564 ส่วนครัวเรือนไม่ยากจนที่ตกเป็นครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) หรือ “ครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่ อาหาร” มีร้อยละ 2.3 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจาก ร้อยละ 2.9 ในปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อรวมครัวเรือนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ภาครัฐ ควรหามาตรการเหมาะสมมาช่วยเหลือเพิ่มเติม จะอยู่ที่ร้อยละ 12.3 ของจำ �นวนครัวเรือน ตัวอย่างทั้งหมด หรือประมาณคร่าว ๆ ได้จำ �นวน 2.9 ล้านครัวเรือน* เมื่อพิจารณาครัวเรือนทั้งสองกลุ่มในระดับภาค พบว่า ภาคที่มีสถานการณ์ ความยากจนแฝงในกลุ่มครัวเรือนไม่ยากจน รุนแรงน้อยที่สุด คือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด เนื่องจากมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร เพียงร้อยละ 4.0 ของจำ �นวนครัวเรือนตัวอย่างในพื้นที่ และมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร ร้อยละ 0.5 ซึ่งเมื่อรวมทั้งสองกลุ่มแล้ว จะมีค่าเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ถือว่ามีสถานการณ์ความยากจนแฝงรุนแรงที่สุด โดยมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร ร้อยละ 13.1 ของจำ �นวน ครัวเรือนตัวอย่างในพื้นที่ และมีสัดส่วนของครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านที่ ไม่ใช่อาหาร ร้อยละ 1.7 ซึ่งเมื่อรวมทั้งสองกลุ่มดังกล่าว จะสูงถึงร้อยละ 14.8 * คำ �นวณจากจำ �นวนครัวเรือนทั้งประเทศ 23,577,782 ครัวเรือน ซึ่งอ้างอิงมาจากค่าคาดประมาณจำ �นวนครัวเรือน ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==