ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 39 3.1.6 มิติด้านดิจิทัลของครัวเรือน ิ ติด้าิ จิทัลั วื อ เมื่อพิจารณาจำ �นวนอุปกรณ์ ICT ที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ ตามตารางที่ 3.6 พบว่า ประเภทครัวเรือนที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนโดยเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) รองลงมาคือ ครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) ซึ่งมีจำ �นวนเฉลี่ยประมาณ 2.7 และ 2.6 เครื่องต่อครัวเรือน ตามลำ �ดับ นอกจากนี้ครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) เป็นครัวเรือนที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ มือถือแบบปุ่มกดน้อยที่สุด (0.17 เครื่องต่อครัวเรือน) ส่วนครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็นครัวเรือนที่เป็น เจ้าของโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนเฉลี่ยน้อยที่สุด (1.60 เครื่องต่อครัวเรือน) และเป็น ครัวเรือนประเภทเดียวที่มีจำ �นวนสมาชิกที่มีการใช้อินเทอร์เน็ต (ผ่านคอมพิวเตอร์/ โทรศัพท์/มือถือ/แท็บเล็ต ฯลฯ โดยไม่คำ �นึงว่าจะใช้ในสถานที่ใด) ไม่ถึง 2 คนต่อครัวเรือน (1.85 คนต่อครัวเรือน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ยังมีครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) จำ �นวนหนึ่ง ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนใช้ หรือ ไม่มีสมาชิกในครัวเรือนใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นอุปสรรคของครัวเรือนในการรับความช่วยเหลือ จากภาครัฐบางโครงการได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) และครัวเรือน ยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์เฉลี่ยเพียง 0.01 เครื่องต่อครัวเรือน ซึ่งน้อยกว่าครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) ถึง 25 เท่า กล่าวคือ แทบจะไม่มีครัวเรือนประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 3 ครัวเรือนใดเป็นเจ้าของ เครื่องคอมพิวเตอร์เลย เมื่อพิจารณาค่าใช้บริการและค่าโทร และค่าสมาชิกและค่าบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายจำ �เป็นในยุคดิจิทัล พบว่า ครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่1) มีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด 138.5 บาทต่อเดือน และ 191.6 บาทต่อเดือน ตามลำ �ดับ ซึ่งใกล้เคียง กับครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) ที่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยเฉลี่ย 138.5 บาทต่อเดือน และ 196.1 บาทต่อเดือน ตามลำ �ดับ โดยข้อมูลดังกล่าวสะท้อนได้ว่า ครัวเรือนทั้งสองประเภท เป็นครัวเรือนที่มีความสามารถในการผนวกดิจิทัลให้เข้ากับ วิถีชีวิตประจำ �วันได้น้อยที่สุด และมีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ภาครัฐจึงควร ออกมาตรการหรือนโยบายส่งเสริมด้านดิจิทัลให้กับครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นอันดับแรก ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==