ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565

ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 43 3.1.7 ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ่ า้ จ่าั วื อ ข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจากตารางที่ 3.7 พบว่า ในปี 2565 ครัวเรือนยากจน แฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) มีค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยน้อยที่สุด 8,422 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจาก 7,024 บาทต่อเดือน ในปี 2564 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต ร้อยละ 19.9 โดยครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) มีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) (ร้อยละ 57.4) ตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 13.7) และเครื่องแต่งบ้าน เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด (ร้อยละ 8.9) ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ของครัวเรือนยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) และครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) มากกว่าครึ่งหนึ่ง ถูกใช้ไปกับหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) (ร้อยละ 66.8 และร้อยละ 57.4 ตามลำ �ดับ) ขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มี แอลกอฮอล์) ของครัวเรือนทั้งสิ้น อยู่ที่ร้อยละ 39.7 เท่านั้น สำ �หรับครัวเรือนยากจนแฝง ด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) สัดส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) มีค่าน้อยที่สุด (ร้อยละ 36.0) เนื่องจากมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัย ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 21.5 และร้อยละ 15.4 ตามลำ �ดับ) สำ �หรับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค ในปี 2565 พบว่า ครัวเรือน ยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย น้อยที่สุด 592 บาทต่อเดือน ขณะที่ครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) มีค่าใช้จ่าย ที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยสูงที่สุด 3,251 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า ครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เฉลี่ยสูงกว่า ครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) เกือบ 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนยากจนกับครัวเรือนไม่ยากจน พบว่า ครัวเรือน ยากจนมีค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 9,305 บาทต่อเดือน น้อยกว่าของครัวเรือน ไม่ยากจน (21,353 บาทต่อเดือน) ถึง 2.3 เท่า โดยครัวเรือนยากจนมีสัดส่วนการใช้จ่าย สูงสุด 3 อันดับแรก คือ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) (ร้อยละ 52.1) ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 14.8) และเครื่องแต่งบ้าน เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด (ร้อยละ 9.4) ซึ่งแตกต่างจาก 3 อันดับแรกของครัวเรือนไม่ยากจน คือ หมวดอาหารและ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==