ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565
ความยากจนแฝงของครัวเรือน พ.ศ. 2565 48 3.1.8 การได้รับสวัสดิการ/ผลประโยชน์ต่าง ๆ จากรัฐ้ รับั สิ ก์ ต่าั ฐ ข้อมูลสวัสดิการรักษาพยาบาลของบุคคลในตารางที่ 3.8 พบว่า บุคคลในครัวเรือน ทั้ง 4 ประเภท ส่วนใหญ่มีสิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนสิทธิ เบิกจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ พบว่า บุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภท ที่ 4) มีสิทธิมากที่สุด (ร้อยละ 13.4) ตามมาด้วยบุคคลในครัวเรือนยากจนแฝงด้านอาหาร (ประเภทที่ 2) (ร้อยละ 3.8) ขณะที่บุคคลในครัวเรือนยากจนแฝงด้านที่ไม่ใช่อาหาร (ประเภทที่ 3) และบุคคลในครัวเรือนยากจนแฝงทั้งสองด้าน (ประเภทที่ 1) ซึ่งมีสัดส่วน สิทธิเบิกจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจเท่ากันที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนยากจนและครัวเรือนไม่ยากจน พบว่า สำ �หรับ ทุกสิทธิรักษาพยาบาลบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนมีสัดส่วนมากกว่าบุคคลในครัวเรือน ยากจน ยกเว้นสิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ครัวเรือนยากจน มีสัดส่วนมากกว่า สำ �หรับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ พบว่า บุคคลในครัวเรือน ยากจน ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐร้อยละ 37.7 ซึ่งสูงกว่าบุคคลในครัวเรือนไม่ยากจน (ร้อยละ 21.7) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มครัวเรือนภายใต้ครัวเรือนไม่ยากจน พบว่า บุคคลในครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝงด้านอาหาร และครัวเรือนไม่ยากจนแต่ยากจนแฝง ด้านที่ไม่ใช่อาหาร ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 31.1 และ ร้อยละ 36.7 ตามลำ �ดับ) และสูงกว่าของครัวเรือนไม่ยากจนแฝง (ประเภทที่ 4) ซึ่งมีค่าอยู่ที่ ร้อยละ 19.7 อย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เงื่อนไขของการได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีประสิทธิภาพสามารถคัดกรองบุคคลได้ดีในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ ก็ยังบ่งชี้ให้เห็นด้วยว่า ยังมีประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐใน รูปแบบต่าง ๆ จนสามารถก้าวผ่านเกณฑ์ความยากจนของประเทศมาได้ แต่ความช่วยเหลือนั้น ก็ยังคงไม่เพียงพอให้ผ่านเกณฑ์ความยากจนแฝงในบางมิติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==