เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 76 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) การเติบโตทางเศรษฐกิจของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC ประกอบด้วย จังหวัด ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรม ชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ (NeEC-Bioeconomy) ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่ การผลิต ในระยะแรกมุ่งเน้นการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรม ชีวภาพ และ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม ชีวภาพและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และพัฒนาด้านการตลาดและ ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา NeEC จะช่วยกระจายความเจริญสู่พื้นที่สร้างอัตลักษณ์ให้พื้นที่ เพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของกลุ่มจังหวัด NeEC ณ ราคาประจ� าปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 642,420 ล้านบาท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 38.4 ของ GRP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 4.0 ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม NeEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปีก่อนหน้า (พ.ศ. 2563) และมี GPP เฉลี่ยต่อประชากร 117,518 บาท ส� าหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม NeEC ประกอบด้วย ภาคการเกษตรที่มีมูลค่า 86,901 ล้านบาท (ร้อยละ 13.5 ของ GPP) และนอกภาคการเกษตร มูลค่า 555,519 ล้านบาท (ร้อยละ 86.5 ของ GPP) โดยมีภาคการบริการเป็นแกนหลักในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งมีมูลค่า 349,357 ล้านบาท (ร้อยละ 54.4 ของ GPP) และส� าหรับ ภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 206,162 ล้านบาท (ร้อยละ 32.1 ของ GPP)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==