เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 124 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) การเติบโตทางเศรษฐกิจของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของกลุ่มจังหวัด SEC ณ ราคาประจ� าปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 525,179 ล้านบาท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 41.1 ของ GRP ภาคใต้ และคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม SEC มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากปีก่อนหน้า (พ.ศ. 2563) และมี GPP เฉลี่ยต่อประชากร 151,766 บาท ส� าหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม SEC ประกอบด้วยภาคการเกษตรที่มี มูลค่า 192,730 ล้านบาท (ร้อยละ 36.7 ของ GPP) และนอกภาคการเกษตรมูลค่า 332,449 ล้านบาท (ร้อยละ 63.3 ของ GPP) โดยมีภาคการบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีมูลค่า 241,375 ล้านบาท (ร้อยละ 46.0 ของ GPP) และส� าหรับภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 91,074 ล้านบาท (ร้อยละ 17.3 ของ GPP) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเล อันดามัน โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามันและการท่องเที่ยวแบบผสม ผสานเชิงสุขภาพและวิถีชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และการพัฒนาให้เป็นเมือง น่าอยู่ ซึ่งในปี 2565 เทศบาลเมืองชุมพรและระนองได้ถูกพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ในระยะ เริ่มต้นแล้ว นอกจากนี้การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง เช่น ปาล์มน�้ ามัน ยางพารา ผลิตภัณฑ์ประมง ในระยะแรกมุ่งเน้นการส่งเสริม 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 2) อุตสาหกรรมชีวภาพ และ 3) อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==