เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 148 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (Special Economic Zones: SEZs) การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของ กลุ่มจังหวัด SEZs ณ ราคาประจ� าปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 772,013 ล้านบาท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 4.8 ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม SEZs มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากปีก่อนหน้า (พ.ศ. 2563) และมี GPP เฉลี่ยต่อประชากร 106,124 บาท ส� าหรับ โครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม SEZs ประกอบด้วยภาคการเกษตรที่มีมูลค่า 175,516 ล้านบาท (ร้อยละ 22.7 ของ GPP) และนอกภาคการเกษตรมูลค่า 596,497 ล้านบาท (ร้อยละ 77.3 ของ GPP) โดยมีภาคการบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งมีมูลค่า 426,825 ล้านบาท (ร้อยละ 55.3 ของ GPP) และส� าหรับภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่า 169,672 ล้านบาท (ร้อยละ 22.0 ของ GPP) พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ SEZs ประกอบด้วย จังหวัดตาก สงขลา สระแก้ว ตราด หนองคาย นครพนม มุกดาหาร เชียงราย กาญจนบุรี และ นราธิวาส จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม 13 อุตสาหกรรม เป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่่ยวข้อง 2) การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 3) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วน 4) การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 5) การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ โลหะ และ วัสดุุ (6) การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเยื่อกระดาษ 7) กิจการสาธารณูปโภค 8) นิคม หรือเขตอุตสาหกรรม 9) การผลิิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง 10) การผลิตอัญมณีี และเครื่องประดับ 11) การผลิตเครื่องเรือน 12) กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และ (13) กิจการบริการ การจัดตั้ง SEZs เป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพื่อช่วยยกระดับ รายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ช่วยจัดระเบียบความมั่นคงบริเวณชายแดน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจากการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งการใช้โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==