เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

The Thailand Special Economic Zones 2023 173 613,214 125,190 117,518 242,158 151,766 106,124 0 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 700,000 EEC NEC NeEC CWEC SEC SEZs หากพิจารณา GPP ของเขตเศรษฐกิจพิเศษจ� าแนกตามสาขาการผลิตในแต่ละ เขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2564 จะพบว่าพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) มีภาคอุตสาหกรรมเป็น แกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่วนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) มีภาคการบริการเป็นแกนหลักในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส� าหรับ GPP ภาคการเกษตร มีสัดส่วนสูงที่สุดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคใต้ (SEC) รองลงมาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per Capita) ปี 2564 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 6 กลุ่ม จะพบว่าพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากรสูงที่สุด (613,214 บาทต่อปี) แต่กลับ พบว่าพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว ประชากรน้อยที่สุด (106,124 บาทต่อปี) ซึ่งมีค่าความแตกต่างกันถึง 5.8 เท่า แผนภูมิ 7.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ. 2564 หมายเหตุ : p คือ ค่ารายปีที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น (Preliminary) ที่มา : ส� านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมวลผลพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยส� านักงานสถิติแห่งชาติ บาท (2564p)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==