เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

The Thailand Special Economic Zones 2023 3 ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างคงที่ โดย การมีเขตเศรษฐกิจขนาดเล็กที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีภาคธุรกิจที่มีศักยภาพ ในการปรับตัวสูง มีนโยบายสนับสนุนที่ดี และมีความชัดเจนในการส่งเสริมความยั่งยืน เหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุนส� าคัญของการแข่งขันในระดับโลก 2 รายงานฉบับนี้จึงท� าการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเทศไทย (Thailand Special Economic Areas Profile) ในประเด็นที่สอดคล้องกับ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในมิติ 4 ด้าน ได้แก่ มิติด้านแรงงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย หลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3 มิติด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนถึงภาวะทางเศรษฐกิจ ของครัวเรือนในพื้นที่ และศึกษาความพร้อมของประชากรในพื้นที่ผ่าน มิติด้านลักษณะ ของประชากร มิติด้านความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัจจัยที่แสดงถึงการมีการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งใน การศึกษาเป็นการน� าข้อมูลจากการส� ารวจตัวอย่างของส� านักงานสถิติแห่งชาติ และข้อมูล จากแหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาท� าการบูรณาการและวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นถึง จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค ข้อจ� ากัด ของการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทยในมิติต่าง ๆ 2 จาก ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจ� าปี 2565 โดย IMD World Competitiveness Center, โดย สมาคมการจัดการธุรกิจ แห่งประเทศไทย, 2565, เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://www.tma.or.th/_files/ugd/d7b1cf_5a341d805af942ebb86fba3e03 2b04ea.pdf 3 From A CONCISE GUIDE TO Macroeconomics (Second Edition), by David A. Moss, 2014, Boston, Massachusetts: Harvard Business Review Press. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะที่ส� าคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย (Thailand Special Economic Zones) ในมิติการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านลักษณะ ของประชากร และ ด้านความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับพื้นที่ย่อย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==