เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566
The Thailand Special Economic Zones 2023 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย เป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความส� าคัญและ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการก� าหนดแผนงานและเป้าหมายการพัฒนาไว้ใน แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนงานระดับเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทยที่ผ่านมา ช่วงปี 2561-2564 ประกอบด้วย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ และ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน พบว่าการขยายผลิตภัณฑ์มวลรวมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด ยังคงกระจุกตัวอยู่ บางพื้นที่ โดยส่วนใหญ่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงต้องให้ความส� าคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้อง กับความต้องการในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการยกระดับศักยภาพและทักษะแรงงานให้สอดรับ กับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงน� าไปสู่การ มีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งถือเป็นแผนงานที่มีการต่อยอดและขยายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค ต่าง ๆ ให้เกิดการขยายผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาคอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่เกิดในเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเป้าหมายการพัฒนาในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับนี้ ได้แบ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ 1 2 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) • ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) • ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) • ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor: CWEC) • ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==