เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 12 รวมทั้งมีการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรที่เข้าร่วมในการด� าเนินการ และมีความเชื่อมโยง บูรณาการการท� างานร่วมกันในทุกมิติ ทั้งโครงการขนาดใหญ่ โครงการระดับรอง และโครงการ ของท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีที่มาเริ่มแรกเดียวกับการจัดตั้งเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษชายแดน ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีค� าสั่งที่ 72/2557 วันที่ 19 มิถุนายน 2557 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) และมอบนโยบายเกี่ยวกับ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเป็น เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่28มิถุนายน2559 เห็นชอบโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นน� าของอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต (New Engine of Growth) มีพื้นที่ด� าเนินงานใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ได้มีค� าสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนและการอ� านวยความสะดวกในการประกอบกิจการ และเพื่อให้การด� าเนินนโยบายโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม จึงได้ก� าหนดให้มีการตราพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา โดยก� าหนดให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีอ� านาจประกาศ จัดตั้ง “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” 7 ภายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นพื้นที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ 8 ซึ่งน� าไปสู่การมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในปัจจุบัน นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวางจุดยืนของประเทศไทยส� าหรับการ พัฒนาระยะยาวตอบสนองต่อความท้าทายภายในประเทศและระดับโลก ปรับโครงสร้างการผลิต ของประเทศและกระจายความเจริญออกสู่พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก มีการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานขั้นสูง เป็นฐานการสะสมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมที่มี 7 เดิม เรียกว่า “เขตส่งเสริม” ตามค� าสั่งที่ คสช.2/2560 ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 8 โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Seaboard Development Program (ESB) เกิดขึ้นในรัฐบาลของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ในพ.ศ. 2525 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) (https://thaipublica.org/2012/11/30- years-eastern-seaboard-development/)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==