เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 16 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ผ่านมา จะเห็นว่า พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เป็นพื้นที่แรกที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ให้มีการก� าหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาไว้ ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และทางออกทางทะเลของ ภาคใต้ตอนบน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ ความได้เปรียบทางกายภาพและที่ตั้งของพื้นที่ รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 11 11 จาก การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) อย่างยั่งยืน, โดย ส� านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561, เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=8026&filename=index 1 2 3 4 แนวทางการพัฒนา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่าย และใช้ประโยชน์ในการเป็นประตูส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตกไปยังท่าเรือ หลักในกลุ่มประเทศความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลส� าหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ และประตูส่งออกสินค้า ฝั่งตะวันออกไปยังท่าเรือหลักในประเทศจีน เพื่อตอบสนองการขยายตัว ของเศรษฐกิจในอนาคต พัฒนาศูนย์กลางการแปรรูปการเกษตรและการประมงในภาคใต้ รวมถึง ผลิตภัณฑ์ทางทะเล พัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดจากการ ผลิตน�้ ามันปาล์มในพื้นที่ให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ยกระดับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและ การเรียนรู้ ด้ านเทคโนโลยีนวัตกรรมเกี่ยวกับปาล์มและยางพารา และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้และป่าชายเลน ให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==