เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

The Thailand Special Economic Zones 2023 17 5 6 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชั้นน� าแห่งใหม่กับแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเลียบ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เชื่อมโยงฝั่งอันดามัน และพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พัฒนาเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้เป็นเมืองน่าอยู่และเป็น กลไกส� าคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนและเศรษฐกิจ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZs) ประเทศไทยมีนโยบายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบของนิคมอุตสาหกรรม มาเป็นเวลานาน โดยมีการจัดตั้งส� านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในปี พ.ศ. 2520 และจากการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลายเป็นแรงผลักดันในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นผู้สนับสนุนกรอบ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียง เศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2541 โดยได้บรรจุแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้เป็นแผนปฏิบัติ การเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) รวมถึงให้ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิคและการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จ� าเป็นในการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษไปยังท่าเรือ จุดกระจาย สินค้า และตลาดปลายทางของอนุภูมิภาคต่าง ๆ 12 และจากแนวคิดของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้เกิดการ พัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีค� าสั่งที่ 72/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตพัฒนา 12 จาก แนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดนของไทย, โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน), 2558, นนทบุรี: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ� ากัด.

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==