เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 22 สถานการณ์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแผนแม่บทฯ ประเด็น (09) 19 19 จาก รายงานสรุปผลการด� าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจ� าปี 2565 (น. 494-549), โดย ส� านักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ส� านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566. การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมายระดับประเด็น 2 เป้าหมายหลัก คือ 1) การเจริญ เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดเพิ่มขึ้น 2) การลงทุนในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ และเป้าหมายเพิ่มเติมในประเด็นการพัฒนา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ 1 เป้าหมายที่ 1 ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สถานการณ์การบรรลุเป้าหมายปี 2565 ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 เขต ตามแผนแม่บทฯ ประเด็น (09) (ฉบับ พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) และเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษชายแดน (Special Economic Zones: SEZs) มีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ อยู่ในระดับ วิกฤตต่อการบรรลุเป้าหมายที่ก� าหนดไว้ว่าให้มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 5 กล่าวคือ การขยายตัวในห้วง 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) ของพื้นที่เศรษฐกิจทั้งหมด มีอัตราการขยายตัว เฉลี่ยร้อยละ 1.02 ขณะเดียวกันหากพิจารณาการขยายตัวในห้วง 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) ของพื้นที่เศรษฐกิจทั้งหมดตามแผนแม่บทฯ ประเด็น (09) ในฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2566-2580) ซึ่งได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน (Special Economic Zones: SEZs) แล้ว จะเห็นว่า มีสถานการณ์การบรรลุเป้าหมายอยู่ ในระดับวิกฤตเช่นกัน กล่าวคือ มีมูลค่าการขยายตัวในห้วง 5 ปี เฉลี่ยร้อยละ 2.27

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==