เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 28 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จัดตั้งขึ้นเพื่อให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นน� าของอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3) อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) 6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อ การอุตสาหกรรม (Robotics) 7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 9) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) และ 10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต (New Engine of Growth) ใน EEC มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงเพื่อใช้เป็นฐานการสะสมเทคโนโลยีและนวัตกรรม น� าไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงและมีศักยภาพในการแข่งขัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงความส� าคัญของ EEC แล้ว จะเห็นได้ว่าเขตพัฒนาพิเศษนี้ เป็นส่วนส� าคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของกลุ่มจังหวัด EEC ณ ราคาประจ� าปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 2,364,867 ล้านบาท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 80.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Reaional Product : GRP) ในภาคตะวันออก และคิดเป็นร้อยละ 14.6 ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม EEC มีการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากปีก่อนหน้า (พ.ศ. 2563) และมี GPP เฉลี่ยต่อประชากร สูงถึง 613,214 บาท ส� าหรับโครงสร้ างเศรษฐกิจของกลุ่ ม EEC ประกอบด้ วย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==