The 2014 Environment Indicators in Brief

65 ฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter - PM 10 ) หรือฝุ่นหยาบ (Course Particle) : เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน เนื่องจากมีความเร็วในการตกตัวต่ํา โดยทั่วไปมีแหล่งกําเนิดออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ธรรมชาติ เช่น เขม่าควันจากไฟป่า และกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม มีผลให้ ทัศนวิสัยในการมองเห็นเสื่อมลง ทําลายพื้นผิวของวัสดุและสิ่งก่อสร้าง หากเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ของมนุษย์จะก่อให้เกิดการระคายเคืองและทําลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น และจะสะสมจนประสิทธิภาพใน การทํางานน้อยลง ก๊าซโอโซน (Ozone – O 3 ) : โอโซนจะอยู่ในรูปของออกซิเจนที่เป็นชั้นป้องกันโลกจากรังสีอุล ตราไวโอเล็ตในชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ (ซึ่งอยู่ 7-10 ไมล์จากผิวโลก) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide-SO 2 ) : เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และมีน้ําหนัก ซึ่งมี น้ําหนักซึ่งเกิดจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ที่ดิน (Land) เนื้อที่ถือครองท้าการเกษตร (Area of Agricultural Holding) : เนื้อที่รวมของที่ดินทุก ผืนภายในจังหวัดที่ผู้ถือครองใช้อยู่และทําการเกษตร ซึ่งที่ดินดังกล่าว ผู้ถือครองอาจเป็นเจ้าของ เช่า หรือทําฟรีในที่สาธารณะ/ป่าสงวน/ที่ของผู้อื่นก็ได้ ที่ดินที่ใช้ทําการเกษตรผืนใด มีบริเวณลานในไร่นา ยุ้งฉาง โรงเก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ บ้านและบริเวณบ้านป่า คันบ่อ ฯลฯ อยู่ด้วย ให้รวมที่ดินดังกล่าว เข้าไปด้วย รวมที่ดินทั้งผืนที่เคยใช้ทําการเกษตร แต่พักทิ้งไว้ ไม่มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําในพื้นที่น้ําจืด ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5 ปี แต่ไม่รวมที่ดินทั้งผืนที่ให้ผู้อื่นเช่า หรือ ยอมให้ผู้อื่นทําประโยชน์โดยไม่คิดค่าเช่า เคยใช้ทําการเกษตรแต่พักทิ้งตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปและเป็นที่ปลูก บ้าน สิ่งปลูกสร้างและป่าขึ้นเองตามธรรมชาติ ผู้ถือครองท้าการเกษตร (Agricultural Holder) : บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งควบคุม จัดการและมีอํานาจตัดสินใจเกี่ยวกับการทําการเกษตร และเป็นผู้ที่รับผิดชอบทั้งทางด้านเทคนิคและ การเงิน บุคคลนั้นอาจดําเนินงานเองหรือมอบให้ผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ดําเนินงานหรือ ดูแลแทนก็ได้ ถ้าผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีส่วนร่วมรับผิดชอบทั้งทางด้านเทคนิคและการเงิน ก็ให้ถือว่า บุคคลนั้นถือครองทําการเกษตร น้้า (Water) ออกซิเจนละลายน้้า (Dissolved Oxygen-DO) : เป็นปัจจัยสําคัญที่ชี้ให้เห็นสภาวะ คุณภาพของแหล่งน้ําว่าเป็นอย่างไร เหมาะแก่การดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ําหรือไม่ โดยทั่วไป ปริมาณออกซิเจนละลายน้ําที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ําควรมีไม่ต่ํากว่า 4 มก./ล. น้ํา ธรรมชาติที่มีคุณภาพดี มักมี DO อยู่ระหว่าง 5-7 มก./ล.การวัดค่าความเข้มข้นของออกซิเจน ละลายน้ําสามารถทําได้ทั้งวิธีทางเคมีและใช้เครื่องวัดโดยตรง อภิธานศัพท์ Glossary

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==