Thailand Environment Statistics 2012

ขยะและของเสี ยอันตราย บทที่ 7 ขยะและของเสียอันตราย จากการที่จำ �นวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่า จะเป็นพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้า การเพิ่มขึ้นของชุมชน การขยายตัวของที่อยู่อาศัย การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งค่านิยมทางสังคม ประกอบกับการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถนน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ เป็นต้น การเร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการ ของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ทำ �ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำ �นวนมาก มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำ �ให้ความสมดุลของธรรมชาติสูญเสียไป เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำ �ลายและมีของเสียปะปน อยู่เป็นจำ �นวนมาก สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัยได้ และมีผลโดยตรง ต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน ปัญหาจัดการขยะและของเสียอันตรายเป็นปัญหาสำ �คัญของทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองใหญ่ แหล่งชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การให้ความสำ �คัญต่อการ จัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจร มีการจัดการขยะติดเชื้อ ขยะอันตรายชุมชนอย่างถูกวิธี รณรงค์ให้ทุกภาค ส่วนตระหนัก และใส่ใจในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สงเสริม สนับสนุนการมีสวนรวมของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ในการจัดการขยะมูลฝอย รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพการรวบรวมและกําจัดของเสียอันตราย ขยะ มูลฝอย และการใชประโยชนจากของเสีย เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ข้อมูลในบทนี้ ประกอบด้วย ปริมาณขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ปริมาณกากกัมมันตรังสี การนำ �เข้าสารเคมี และผลิตในประเทศ จำ �นวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากสารอันตราย การจัดการของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ปริมาณการใช้ประโยชน์ของเสียในภาคอุตสาหกรรม ปริมาณขยะชุมชน การใช้ประโยชน์จากขยะชุมชน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==