The 2021 ICT Indicators

ตัวชี้วัดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2564 10 จากผลของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำ �ให้พฤติกรรมการบริโภคของคนในครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การติดตาม ข่าวสาร หรือความบันเทิงต่าง ๆ ไม่จำ �เป็นต้องติดตามผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว แต่สามารถติดตามผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยกว่าอย่างสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่งสามารถติดตามสื่อต่าง ๆ ได้จากทุกที่ ทุกเวลา สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน เห็นได้จาก การมีวิทยุในครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 46.5 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 22.8 ในปี 2564 เช่นเดียวกับ การมีโทรทัศน์ในครัวเรือนก็ค่อย ๆ ลดลงเช่นกัน แม้การลดลง จะไม่รวดเร็วเหมือนการมีวิทยุ แต่ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 96.9 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 91.7 ในปี 2564 ขณะที่การมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของครัวเรือนในปี 2564 พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศกว่า ร้อยละ 96.4 มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยกรุงเทพมหานครมีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงที่สุด ร้อยละ 98.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ร้อยละ 97.7 ในขณะที่ ภาคเหนือมีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่ำ �ที่สุด ร้อยละ 94.5 และหากพิจารณาเฉพาะโทรศัพท์ เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ตโฟน พบว่า มีสัดส่วนครัวเรือนที่มีสมาร์ตโฟน ร้อยละ 90.7 โดยกรุงเทพมหานครมีครัวเรือนที่มีสมาร์ตโฟนสูงที่สุด ร้อยละ 96.8 รองลงมาคือ ภาคกลางมี ครัวเรือนที่มีสมาร์ตโฟนร้อยละ 92.9 ในขณะที่ภาคเหนือมีครัวเรือนที่มีสมาร์ตโฟนต่ำ �ที่สุด ร้อยละ 85.6 การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของครัวเรือน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==