รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566
3 SDG การจัดจำ แนกข้อมูล ตัวชี้วัด SDGs ในมิติที่สำ คัญ เช่น ความพิการ กลุ่มคนเปราะบาง เป็นต้น การจัดทำ และรวบรวม ข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ระดับพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อนำ มาใช้ในการผลิต จัดทำ ข้อมูลตัวชี้วัด เช่น ภูมิสารสนเทศ สำ หรับงานสถิติ หรือ จากภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น การเข้าถึงและใช้ ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน บทนำ ( ต่อ ) รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566 จากการติดตามการดำ เนินงานด้านข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ของประเทศไทย เผชิญปัญหาในประเด็นเรื่องข้อมูลที่สำ คัญๆ ดังนี้ การปิดช่องว่างด้านข้อมูลและพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดให้มีความครบถ้วนถูกต้อง เพื่อใช้ในการประเมินผล และเพื่อติดตามความสำ เร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573 นับเป็นความท้าทายของประเทศอย่างมากในการผลักดันให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อมูลร่วมกัน ซึ่งหน่วยงานควรตระหนักถึง ความสำ คัญในการจัดทำ ตัวชี้วัด การมีข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อใช้ในการ สนับสนุนการวางแผน ติดตามประเมินผลการดำ เนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเปรียบเทียบได้ในระดับสากล การเสริม สร้างองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้านสถิติให้กับหน่วยสถิติในการจัดทำ ข้อมูล การสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารประเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงใน ทุกระดับ ตลอดจนควรมีการพัฒนาเครื่องมือ เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมมาใช้ใน การผลิตและบริการเผยแพร่ข้อมูลตัวชี้วัดให้มากขึ้น พร้อมทั้งกระตุ้นความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนในการร่วมกันพัฒนาตัวชี้วัดต่อไป สำ นักงานสถิติแห่งชาติกับการสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==