รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566

4 SDG รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566 บทบาทในด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ให้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องสม่ำ เสมอ เพื่อพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถสถิติที่ จําเป็น ทั้งผู้จัดทำ ข้อมูลและผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นประโยชน์ ของการใช้สถิติและสารสนเทศที่มีอยู่จํานวนมากมาใช้วิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ วางแผนและติดตามประเมินผลการดําเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีหลักเกณฑ์ รวม ถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก หน่วยงานองค์กรระหว่างประเทศ บทบาทในด้านการปิดช่องว่างของข้อมูล (Data Gaps) ในกรณีที่ต้องมีการ ผลิตจัดทำ สถิติตัวชี้วัดใหม่ การพัฒนาตัวชี้วัดให้ครบถ้วนในมิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลในระดับ พื้นที่และการจัดจำ แนกข้อมูลในรายละเอียดที่สำ คัญ หนึ่งในแนวทางการพัฒนาที่สำ คัญ คือบูรณาการสถิติจากข้อมูลการบริหารงานจากหลายแหล่งเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน หาก หน่วยงานมีการบูรณาการสถิติทําให้เกิดมุมมองการพัฒนาที่ครอบคลุมเชื่อมโยงกัน และ การใช้ประโยชน์ในวงกว้างและคุ้มค่า ระบบสถิติของประเทศควรสนับสนุนการบูรณาการ สถิติให้กว้างขวาง เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถนํา ไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำ ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ ในการติดตามประเมินผลตัวชี้วัด SDGs เช่น ข้อมูลจากทะเบียน ข้อมูลจาก Remote Sensor และ Big Data เป็นต้น นับว่าเป็นความท้าทายอย่างมากในการพัฒนาข้อมูลให้มี คุณภาพ และเชื่อถือได้ รวมถึงการจัดทำ พัฒนาข้อมูลที่มีลักษณะเป็น cross-cutting issue ด้วย สำ นักงานสถิติแห่งชาติ จึงมีบทบาทในการการสนับสนุนการขับเคลื่อนสถานะ ข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ให้มีความก้าวหน้าสู่ความสำ เร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้ 1/ บทนำ ( ต่อ ) สำ นักงานสถิติแห่งชาติกับการสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==