รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566
SDG คำ นำ รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566 สำ นักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำ เนินภารกิจติดตามความก้าวหน้าการจัดทำ ตัวชี้วัด SDGs ระดับสากล (Global Indicators) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำ ตัวชี้วัด SDGs ในบริบทของประเทศไทย (National Indicators) สำ หรับตัวชี้วัด SDGs ที่กำ หนดในระดับสากล ที่ไม่สามารถวัดด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาที่ ยั่งยืนได้ ประเทศไทยจึงกำ หนดให้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ที่สามารถเทียบเคียงกับตัวชี้วัด SDGs ระดับ สากลได้บางส่วน เรียกตัวชี้วัดดังกล่าวว่า ตัวชี้วัดทดแทน (Proxy Indicators) เพื่อทำ ให้ตัวชี้วัด ในบริบทประเทศไทย (National Indicators) มีความครอบคลุม ครบถ้วนและชัดเจนที่สามารถใช้ ในการติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงาน " สถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566" ฉบับนี้ นับเป็นรายงานฉบับที่สอง ซึ่งดำ เนินการต่อจากฉบับแรกที่จัดทำ ขึ้นในปี 2562 ทั้งนี้เพื่อติดตาม สถานะความก้าวหน้าข้อมูลตัวชี้วัดในแต่ละตัว การจัดทำ รายงานฉบับนี้ สำ นักงานสถิติแห่งชาติ ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อสำ นักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเป็นหลัก เพิ่มเติมด้วยข้อมูลที่สำ นักงานสถิติแห่งชาติด เนินการอยู่ เพื่อ สะท้อนให้เห็นถึงสถานะ และค่าของข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย 247 ตัวชี้วัด โดยการสืบค้นและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันสำ หรับตัวชี้วัดที่มีข้อมูล จากนั้นจำ แนก ตัวชี้วัดนั้นๆ มีรายละเอียดในการจัดทำ ที่สอดคล้องกับ metadata ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) แนะนำ หรือไม่ หากตัวชี้วัดดังกล่าว มีรายละเอียดตรงหรือใกล้เคียงกับ metadata ที่ UN กำ หนด จัดให้สถานะของตัวชี้วัดเป็น Global สำ หรับตัวชี้วัดที่มีรายละเอียด ไม่ตรงกับ metadata ที่ UN กำ หนด จัดให้สถานะตัวชี้วัดเป็น Proxy ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวชี้วัดของประเทศไทยจำ นวนเท่าใดที่สามารถเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดสากลตามมาตรฐานที่ UN แนะนำ และเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ได้จัดทำ การนำ เสนอในรูปแบบของ infographic ประกอบ สำ นักงานสถิติแห่งชาติ ขอขอบคุณสำ นักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ประกอบในการ จัดทำ รายงานฉบับนี้ขึ้น นอกจากนี้ผู้จัดทำ รายงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลด้านสถิติต่างๆ ที่ได้ มีการนำ เสนอในรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ในทางสถิติต่อไป กองสถิติพยากรณ์ สำ นักงานสถิติแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==