รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566
สำ นักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านข้อมูลสารสนเทศของประเทศ ภารกิจ การผลิตข้อมูลสถิติจากสำ มะโน / สำ รวจตัวอย่างนั้นได้ดำ เนินตามมาตรฐานข้อเสนอแนะ และแนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับทั่วกันในมาตรฐานที่สอดคล้องกับต่างประเทศ โดยตัวชี้วัดที่อยู่ใน ระบบของสำ นักงานสถิติแห่งชาติ ที่สามารถใช้ในการติดตามประเมินผลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีจำ นวน 32 ตัวชี้วัด แต่ในการประเมินพบว่ายังขาดการจำ แนกข้อมูลในมิติสำ คัญ เช่น ความพิการ กลุ่มคนเปราะบาง เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่มีอยู่ทั้งจากสำ นักงานสถิติแห่งชาติและข้อมูลสถิติที่ หน่วยงานอื่นจัดทำ นั้น อาจไม่เพียงพอในการวัดความสำ เร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำ การ สำ รวจข้อมูลใหม่ๆ ต้องใช้เงินงบประมาณจำ นวนมาก ดังนั้น การพัฒนาระบบสถิติของประเทศจําเป็น ต้องคํานึงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สำ หรับนำ มาใช้ในการผลิตจัดทำ สถิติ การบริการเผยแพร่ข้อมูลสถิติ และการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติด้วย การพัฒนาข้อมูล จากแหล่งอื่นนำ มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ภูมิสารสนเทศสำ หรับงานสถิติ หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น รวมถึงพัฒนาคุณภาพข้อมูลจากระบบทะเบียนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ จะสนับสนุนให้การ ติดตามประเมินผลความสำ เร็จของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การบริหาร จัดการระบบสถิติของประเทศและบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ เป็นภารกิจและความท้าทายของ สำ นักงานสถิติแห่งชาติที่จะดำ เนินภารกิจดังกล่าวให้สำ เร็จ SDG 1 บทนำ สำ นักงานสถิติแห่งชาติกับการสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566 การจัดทำ ข้อมูลตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกระบวนการสำ คัญในการรวบรวม / บูรณาการข้อมูลจากหน่วยสถิติต่าง ๆ จากระบบทะเบียน การรายงาน และสำ มะโน / สำ รวจตัวอย่าง เพื่อสร้างเครื่องมือวัดที่สะท้อนผลสำ เร็จของการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละช่วงเวลาการดำ เนินงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายบรรลุความสำ เร็จ ทั่วโลกตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 (Sustainable Development Agenda 2030) ในการ จัดทำ ข้อมูลตัวชี้วัดต้องเผชิญปัญหาความท้าทายที่หลายตัวชี้วัดไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาก่อน จึงจำ เป็นต้องใช้การกำ หนดตัวชี้วัดใกล้เคียงหรือตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องแทน (proxy indicators) นอกจากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสำ หรับขับเคลื่อนงานการจัดทำ ข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อ ใช้ติดตามประเมินผลความสำ เร็จในแต่ละเป้าหมาย สิ่งที่สำ คัญ คือ การที่หน่วยงานต่าง ๆ ตระหนัก ถึงความสำ คัญในการดำ เนินการจัดทำ ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ในการด เนินงาน ควรมุ่งเน้นกระบวนการทํางานร่วมกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และหน่วยงานสนับสนุนในการพัฒนา ตัวชี้วัดให้เหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับบริบทประเทศไทยที่ใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและสามารถเปรียบเทียบระดับการพัฒนากับประเทศ ต่าง ๆ โดยมีนโยบายให้พัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดความสำ เร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจ พอเพียงในแต่ละเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==