รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566

รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ . ศ . 2566 2 SDG ครั้งที่ 2 : วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ครั้งที่ 3 : วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ครั้งที่ 4 : วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ครั้งที่ 1 : วันที่ 3-4 กันยายน 2561 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ การจัดทำ ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบท ประเทศไทย (National SDGs indicators)” จำ นวน 4 ครั้ง เพื่อให้ผู้แทนจากทุกภาคส่วนและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ มาร่วมกันกำ หนดทิศทางการพัฒนาชุดตัวชี้วัดของประเทศ เพื่อให้ประเทศ สามารถวัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาในบริบทประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูป ประเทศ และนโยบายประเทศไทย 4.0 อันจะนำ ไปสู่ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบท ประเทศไทย ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวชี้วัดสากล (Global indicators) ตัวชี้วัดทดแทน (Proxy indicators) และตัวชี้วัดเพิ่มเติม (Additional indicators) ที่สามารถสะท้อนการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งในระดับสากลและระดับประเทศไทยได้อย่างแท้จริง การให้ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับตัวชี้วัด SDGs รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศ การขับเคลื่อนตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสำ นักงานสถิติแห่งชาติ ตั้งแต่ ปี 2559 ที่ผ่านมามีการดำ เนินการ ดังนี้ ศึกษารายละเอียดตัวชี้วัด SDGs ของ UN โดยสำ นักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จัดทำ คำ แปลเป้าหมาย เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด SDGs เป็นภาษาไทย เพื่อให้เกิด ความเข้าใจ และการนำ ไปใช้ประโยชน์ที่ตรงกัน รวมทั้งจัดทำ แหล่งข้อมูล / ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs เผยแพร่บนเว็บไซต์ ( ปี 2559) การกลั่นกรองข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ในแต่ละเป้าหมาย (Data Assessment) ทำ การ วิเคราะห์ ตรวจสอบสถานภาพของข้อมูล / ตัวชี้วัด SDGs ของประเทศ และความสอดคล้องกับ ตัวชี้วัด SDGs สากลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จำ นวน 241 ตัวชี้วัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานเจ้าภาพหลัก หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ตัวชี้วัดในทุกเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับความมีอยู่ของข้อมูล รายละเอียดของนิยาม ขอบข่ายและความครอบคลุม แหล่งข้อมูลที่ใช้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ข้อมูลตัวชี้วัด SDGs และแนวทางในการพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดให้ครบถ้วน ถูกต้องตามหลัก วิชาการและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ( ปี 2560) หน่วยงานหลักรับผิดชอบขับเคลื่อน SDGs เป้าหมายต่างๆ จัดทำ แผนงานการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่ละเป้าประสงค์ โดยในแผนงานฯ หน่วยงานได้น เสนอตัวชี้วัด เพื่อประกอบการดำ เนินงานและติดตามประเมินผลการพัฒนาในแต่ละเป้าประสงค์ มีการประเมิน สถานะข้อมูล / ตัวชี้วัดเพื่อให้ทราบสถานภาพความพร้อมของตัวชี้วัด SDGs ของประเทศไทย ( ปี 2559) บทนำ ( ต่อ ) สำ นักงานสถิติแห่งชาติกับการสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==