Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

116 เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง เป้าประสงค์ 5.2: ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การกระทาทางเพศ และการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น ตัวชี้วัด 5.2.1: สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่ครองได้รับความรุนแรงทาง ร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจโดยคู่ครองคนปัจจุบัน หรือคู่ครองคนก่อนหน้า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จาแนกตามรูปแบบความรุนแรงและอายุ ข้อมูลเชิงสถาบัน องค์กร: องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของสตรีแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women: UNWOMEN) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Children’s Fund: UNICEF) สานักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Statistics Division: UNSD) องค์การอนามัยโลก ( World Health Organization: WHO) กองทุนสหประชาชาติเพื่อประชากร ( United Nations Population Fund: UNFPA) แนวคิดและนิยาม นิยาม: ตัวชี้วัดนี้วัดค่าจากร้อยละของสตรีและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่ครองและได้รับความรุนแรงทาง ร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจโดยคู่ครองคนปัจจุบัน หรือคู่ครองคนก่อนหน้า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นิยามความ รุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิงและรูปแบบของความรุนแรงที่นามาใช้เฉพาะตัวชี้วัดนี้ อธิบายไว้ด้านล่าง (แนวคิด) หลักการและเหตุผล: ความรุนแรงที่กระทาต่อเด็กหญิงและสตรีเป็นความรุนแรงด้านเพศสภาพที่พบได้ทั่วไปที่สุด ในสังคมที่ให้ผู้ชายครอบงา สตรี ความรุนแรงระหว่างคู่ครองอาจจะเป็นองค์ประกอบทั่วไปของการใช้ชีวิตคู่ของคนต่างเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน บริบทของการแต่งงานและการอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวเป็นลักษณะหนึ่งของความไม่เท่าเทียม กันทางเพศสภาพ ข้อมูลความชุกจะเป็นที่ต้องการเพื่อนามาวัดขนาดของปัญหา ทาความเข้าใจความรุนแรงรูปแบบต่าง ๆ และผลที่ ตามมา ระบุกลุ่มเสี่ยง วินิจฉัยปัญหาเพื่อแสวงหาแนวการช่วยเหลือ และสร้างหลักประกันถึงการตอบสนองที่เหมาะสม ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการให้ข้อมูลทางกฎหมายและนโยบาย รวมทั้งการพัฒนาการตอบสนองและโครงการที่ มีประสิทธิภาพตามความต้องการ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ได้ติดตามความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพของการให้ความช่วยเหลือที่จัดขึ้น แนวคิด: ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีปี พ.ศ. 2536 ให้นิยามความรุนแรงต่อสตรีว่าเป็น “ การกระทาใด ๆ ที่เป็น ความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผล ให้เกิดการทาร้ายทางร่างกาย ทางเพศหรือทางจิตใจ เป็นผลให้เกิด ความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะ และในชีวิตส่วนตัว ซึ่งความรุนแรง

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==