Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

157 เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ เป้าประสงค์ 16.1: ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมี นัยสาคัญ ตัวชี้วัด 16.1.2: การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต่อจานวนประชากร 100,000 คน จาแนกตาม อายุ เพศ และสาเหตุการตาย ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสาหรับตัวชี้วัดนี้ และระเบียบวิธียังอยู่ในระหว่างการพัฒนา โปรดดูข้อมูลจากเว็บเพจ Tier III Work Plan ---------------------------------------------------------------------------------------- เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ เป้าประสงค์ 16.2: ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและ การทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก ตัวชี้วัด 16.2.1: สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทาร้ายทางร่างกาย และ/หรือข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแล ในเดือนที่ผ่านมา ข้อมูลเชิงสถาบัน องค์กร: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Children’s Fund: UNICEF) แนวคิดและนิยาม นิยาม: ในปัจจุบัน สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทาร้ายทางร่างกาย และ/หรือถูกข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลในเดือนที่ ผ่านมาวัดค่าจากสัดส่วนของเด็กอายุ 1-14 ปี ที่เคยถูกทาร้ายทางร่างกาย และ/หรือถูกข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลใน เดือนที่ผ่านมา หลักการและเหตุผล : ในหลาย ๆ ครั้งพบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยวิธีการบังคับทางกายและการว่ากล่าวด้วยคาพูดอย่างรุนแรง เพื่อเป็นการ ลงโทษต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและสนับสนุนให้มีพฤติกรรมตามที่ต้องการ การเลี้ยงดูโดยใช้ความรุนแรงกับเด็ก เป็นตัวแทนของการละเมิดสิทธิมนุษยชน การทาร้ายทางกายภาพและข่มเหงทางจิตใจมักจะทับซ้อนและเกิดขึ้นพร้อม กันในหลาย ๆ ครั้ง ก่อให้เกิดความรุนแรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผลของการเลี้ยงดูโดยใช้ความรุนแรงนี้มีได้ ตั้งแต่ผลที่เกิดขึ้นในทันทีและความเสียหายในระยะยาวที่เด็ก ๆ จะต้องพกพาไปด้วยเมื่อเติบโตขึ้น การเลี้ยงดูโดยใช้ ความรุนแรงถือเป็นความรุนแรงต่อเด็กที่กว้างขวางและได้รับการยอมรับจากสังคมมากที่สุด

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==