Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

23 เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าประสงค์ที่ 1.4 ภายในปี 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิ เท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและ อสังหาในรูปแบบอื่น มรดกทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบ การเงินระดับฐานราก ตัวชี้วัดที่ 1.4.1: สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน ข้อมูลเชิงสถาบัน องค์กร: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ( United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT) แนวคิดและนิยาม หลักการและเหตุผล : ความยากจนมีหลายมิติ มันมิใช่เพียงความขาดแคลนสุขภาวะทางวัตถุเท่านั้นแต่รวมถึงการขาดโอกาสที่จะได้ใช้ชีวิตที่ ดีพอประมาณ เส้นความยากจนขั้นรุนแรงสากลได้ถูกอัพเดทขึ้นในปี พ.ศ. 2558 อยู่ที่ 1.90 ดอลลาร์สรอ. ต่อวันโดยใช้ ค่าภาวะความเสมอภาคของอานาจซื้อ ( Purchasing Power Parity) ของปี พ.ศ. 2554 (WB 2015) การใช้ชีวิตใต้เส้น ความยากจนขั้นรุนแรงครอบคลุมการไม่ได้รับน ้ าดื่มที่ปลอดภัย สุขอนามัยที่เหมาะสม การเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ การ เคลื่อนย้ายที่ยั่งยืนไปสู่ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ การดูแลสุขภาพ การศึกษา และอื่น ๆ ความ ยากจนยังเป็นการสาแดงของความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ ความจากัดในการเข้าถึงการศึกษาและบริการอื่น ๆ การเลือกปฏิบัติและกีดกันทางสังคม รวมไปถึงการขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หากพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความ ยากจนมีหลายมิติและครอบคลุมแง่มุมของชีวิตที่หลากหลายครอบคลุมตั้งแต่การเข้าถึงโอกาส การดาเนินชีวิต และ เครื่องมือที่ใช้ในการดารงชีวิต ท่ามกลางแง่มุมต่าง ๆ ของความยากจน ตัวชี้วัดนี้ให้ความสาคัญกับการ “ เข้าถึงบริการพื้นฐาน ” การเข้าถึงบริการ พื้นฐาน เช่น น ้ าดื่มที่สะอาด สิ่งอานวยความสะดวกด้านสุขอนามัย พลังงานและการเคลื่อนย้ายที่ยั่งยืน ที่อยู่อาศัย การศึกษา และการดูแลสุขภาพ และอื่น ๆ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนจน การขาดการจัดหาบริการพื้นฐานให้และ การขาดการเสริมพลังและการมีส่วนร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นในการจัดหาบริการพื้นฐานเป็นตัวเหนี่ยวรั้งการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชน ระบบที่จัดหาบริการขั้นพื้นฐานที่พอเพียงจะส่งเสริมการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจและช่วยในการบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความครอบคลุมทางสังคม การลดความยากจนและความ เหลื่อมล ้ า ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาบริการพื้นฐานยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและผลิตภาพของชุมชน สร้างงาน ลดเวลา และความพยายามในการขนส่งน ้ า สนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร การใช้พลังงานที่ดีขึ้น การผลิตสินค้าบริการที่ สาคัญ พัฒนาสุขภาพ (โดยการทาให้การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ น ้ าสะอาดและการเก็บขยะนั้นมีอยู่) หรือช่วยให้ ระดับการศึกษาสูงขึ้นด้วย ในแผนปฏิบัติการกีโตสาหรับวาระใหม่แห่งการพัฒนาเมืองที่ได้รับการรับรองในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการ พัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (Habitat III) รัฐสมาชิกได้ให้คามั่นกับ “ การส่งเสริมการเข้าถึงที่เท่าเทียม และจ่ายได้ของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสังคมที่ยั่งยืนสาหรับทุกคน โดยปราศจากการกีดกัน รวมถึงที่ดินที่ จ่ายได้ ที่อยู่อาศัย พลังงานสมัยใหม่และหมุนเวียน น ้ าดื่มที่สะอาดและสุขอนามัย อาหารที่ปลอดภัยมีโภชนาการและ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==