Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

25 บริบทของชนบท : เพื่อเสริมพลังตัวชี้วัด SDG 9.1.1 “ สัดส่วนของประชากรในชนบทที่อาศัยอยู่ภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากถนนที่ใช้การ ได้ทุกฤดูกาล ” แนะนาว่าควรใช้ดัชนีการเข้าถึงในชนบท ( Rural Access Index: RAI) 3 ที่วัดร้อยละของประชากรที่อาศัย อยู่ห่างน้อยกว่า 2 กิโลเมตรจากถนนที่ใช้การได้ทุกฤดูกาล (เทียบเท่าการเดินประมาณ 20-25 นาที) 4 เพื่อขจัดความยากจน ชุมชนจาเป็นต้องถูกเชื่อมไปสู่โอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจโดยถนนที่สามารถใช้ได้ในทุก ฤดูกาล และดึงดูดให้มีบริการขนส่งสาธารณะที่เชื่อถือได้และจ่ายได้ ในหลาย ๆ พื้นที่ ทางเดินเท้าที่ปลอดภัย สะพานลอยคนข้าม และเส้นทางน ้ า อาจจาเป็นต้องมีและเชื่อมโยงกับหรือเป็นทางเลือกแทนถนน เพื่อทาให้เข้าใจได้ ง่าย คานิยามนี้จะเน้นที่ถนนเป็นหลัก (บนฐานของดัชนีการเข้าถึงในชนบท ( Rural Access Index - RAI)) 5 เนื่องจาก การคมนาคมทางถนนสะท้อนความสามารถในการเข้าถึงของผู้คนส่วนใหญ่ในบริบทของชนบท ในสถานการณ์ที่ รูปแบบการคมนาคมแบบอื่น เช่น การคมนาคมทางน ้ าเป็นรูปแบบคมนาคมหลัก คานิยามจะถูกปรับและทาให้เหมาะ กับบริบทเพื่อสะท้อนและตรวจจับมิติเหล่านั้นได้ การเข้าถึงความสามารถในการเคลื่อนที่ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่มากที่สุดต่อการลดความยากจนและมี ความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสุขภาพ (“การขนส่งในฐานะที่เป็นเงื่อนไ ขส่งเสริม (enabler) ”) ระเบียบวิธีแบบ RAI ที่มีอยู่นั้นพึ่งพาข้อมูลจากการสารวจรายครัวเรือน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีการทบทวนและปรับมาใช้ ดัชนีที่ใช้ข้อมูล GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) แทนซึ่งถือเป็นการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าในเทคโนโลยี ดิจิทัลโดยมุ่งหมายให้เป็นเครื่องมือที่แม่นยาและประหยัดต้นทุน ข้อสมมติพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังนิยามเหล่านี้คือ ผู้หญิงและผู้ชายได้รับประโยชน์เท่ากันจากการเข้าถึงถนนที่ใช้การได้ ทุกสภาพอากาศ ในบริบทเมือง การเข้าถึงการคมนาคมในบริบทเมืองถูกวัดโดยการใช้ระเบียบวิธีของตัวชี้วัด SDG 11.2.1 – “ สัดส่วนของประชากรที่ สามารถเข้าถึงการขนส่งสาธารณะได้สะดวก จาแนกตามเพศ อายุ และผู้มีความพิการ ” ข้อมูล metadata และระเบียบวิธีมีการจัดทาแล้ว (โดย UN Habitat เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ) และใช้ประกอบกับการ วิเคราะห์เชิงพื้นที่ ( spatial analysis) และเชิงคุณภาพ ( qualitative analysis) พื้นที่โดยรอบระยะ 500 เมตรรอบป้ายรอ ขนส่งสาธารณะถูกใช้และพิจารณาโดยนามาซ้อนทับ ( overlaid) กับข้อมูลเชิงสังคมประชากร- เพื่อระบุกลุ่มประชากรที่ ได้รับการบริการ เราทราบว่าการวัดการเข้าถึงเชิงพื้นที่ไม่เพียงพอและไม่ได้พิจารณามิติด้านช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับ การมีอยู่ของขนส่งสาธารณะ เพื่อเสริมกับที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ค่าสัมประสิทธิ์อื่น ๆ สาหรับการติดตามเป้าหมายเรื่อง การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่อไปนี้ก็ถูกติดตามทั้งสิ้น ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ด้านความหนาแน่นของถนน จานวน แยก ความสามารถในการจ่ายได้ หรือคุณภาพในด้านความปลอดภัย เวลาเดินทาง การเข้าถึงโดยคนทุกกลุ่ม 3 http://www.worldbank.org/en/topic/transport/brief/connections ‐note‐23 4 https://www.ssatp.org/sites/ssatp/files/publications/HTML/Gender ‐RG/Source documents/Tool Kits & Guides/Monitoring and Evaluation/TLM&E7 Access Index TRB 06.pdf 5 http://www.worldbank . org/en/topic/transport/brief/connections‐note‐23

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==