Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

31 แบบจาลอง Rasch คือการอนุญาตให้มีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลที่ถูกเก็บมาและประเมินขอบเขตที่เป็นไปได้ ของความไม่แน่นอนรอบอัตราความชุกประมาณการ ซึ่งขอบเขตดังกล่าวนั้นควรจะมีการรายงานเสมอ แนวคิด: งานวิจัยอย่างกว้างขวางตลอดช่วงเวลากว่า 25 ปี ได้แสดงให้เห็นว่าความไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ส่งผลให้เกิดชุด ของประสบการณ์และเงื่อนไขที่พบได้ค่อนข้างทั่วไปแบบข้ามวัฒนธรรมและบริบทเชิงเศรษฐกิจสังคม และครอบคลุม ตั้งแต่ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการหาอาหารมาให้เพียงพอไปจนถึงความจาเป็นต้องลดทอนคุณภาพหรือ ความหลากหลายของอาหารที่จะบริโภค ไปจนถึงการถูกบังคับให้ลดการกินอาหารโดยลดขนาดของอาหารหรือเว้นมื้อ การกิน ไปจนถึงเงื่อนไขสุดขั้วของความรู้สึกอดอยากและไม่มีวิธีการในการเข้าถึงอาหารตลอดทั้งวัน เงื่อนไขทั่วไป เช่นนี้เป็นที่มาของหลักการพื้นฐานของมาตรวัดความไม่มั่นคงทางอาหารบนฐานของประสบการณ์ เมื่อถูกวิเคราะห์โดย ใช้กระบวนการทางสถิติที่เหมาะสมที่มีรากฐานอยู่ในทฤษฎี Item Response ข้อมูลที่ถูกเก็บโดยอาศัยระบบการวัดนี้จะ เป็นฐานสาหรับการคานวณการวัดความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารที่ใช้เปรียบเทียบแบบข้ามประเทศได้และมี ความสอดคล้องทางทฤษฎีด้วย ดังนั้นความรุนแรงของเงื่อนไขความไม่มั่นคงทางอาหารตามที่วัดโดยตัวชี้วัดนี้จึง สะท้อนโดยตรงไปถึงระดับของความไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ต้องการได้ของครัวเรือนหรือปัจเจกชน ข้อคิดเห็นและข้อจากัด: ด้วยความที่ระยะเวลาในการทาสารวจเพื่อเก็บข้อมูล FIES ใช้เวลาโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 3 นาทีในการสารวจแบบตัวต่อ ตัว ทาให้การสารวจ FIES-SM ถูกรวมเข้าไปในการสารวจตัวแทนระดับชาติในทุกประเทศในโลกโดยมีต้นทุนที่ เหมาะสม ทาง FAO ได้จัดให้มีรุ่นของ FIES-SM ที่ถูกปรับและแปลในภาษาประจาชาติและภาษาถิ่นกว่า 200 ภาษา และใช้ในการทาแบบสารวจ Gallup World Poll เมื่อถูกใช้ใน Gallop World Poll ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพียงประมาณ 1,000 คน , ความกว้างของช่วงความมั่นใจ แทบจะไม่เกินร้อยละ 20 ของความชุกที่วัดได้ (นั่นคือ อัตราความชุกที่ประมาณร้อยละ 5 0 จะถูกประมาณการขอบเขต ของความผิดพลาด ( margins of error) อยู่ที่บวกลบร้อยละ 5) เห็นได้ชัดเจนว่า ช่วงความมั่นใจน่าจะเล็กกว่านี้เมื่อเป็น อัตราความชุกระดับชาติที่ประมาณการโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่กว่านี้ เปรียบเทียบกับตัวชี้วัดไม่เป็นทางการอื่น ๆ ที่ถูกเสนอขึ้นเพื่อวัดความไม่มั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน แนวทางที่ อยู่บนฐานของ FIES มีข้อได้เปรียบตรงที่อัตราความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารนั้นสามารถเปรียบเทียบได้ โดยตรงแบบข้ามกลุ่มประชากรและประเทศ ถึงแม้ว่าตัวชี้วัดอื่น ๆ จะใช้คาเรียกสาหรับแต่ละระดับคล้าย ๆ กัน (เช่น ความไม่มั่นคงทางอาหาร ระดับ “ อ่อน ” “ ปานกลาง ” หรือ “ รุนแรง ”) แต่แนวทางอื่น ๆ ยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบอย่างเป็นทางการของเส้นแบ่งระดับที่ใช้ในการจัดประเภท เนื่องมาจากการขาดคา นิยามของแบบจาลองทางสถิติที่เหมาะสมที่เชื่อมโยงค่าของ “ ดัชนี ” หรือ “ คะแนน ” ที่ใช้สาหรับการจัดประเภทกับความ รุนแรงของความไม่มั่นคงทางอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการพิจารณาอย่างระมัดระวังเมื่อจะมีการเปรียบเทียบผลที่ได้ จาก FIES กับผลจากตัวชี้วัดอื่น ๆ แม้ว่าจะจะมีการใช้คาเรียกสาหรับแต่ละระดับที่คล้ายคลึงกันก็ตาม ระเบียบวิธี วิธีการคานวณ : ข้อมูลรายบุคคลหรือครัวเรือนถูกเก็บโดยการประยุกต์ใช้แบบสอบถามที่ใช้ระบบการวัดความมั่นคงทางอาหารโดยใช้ ประสบการณ์เป็นฐานในการสารวจ การสารวจความมั่นคงทางอาหาร จ ะเก็บคาตอบสาหรับคาถามที่ขอให้ผู้ตอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==