Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

38 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 FIES-SM ที่อ้างอิงถึงระดับบุคคลถูกประยุกต์ใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนระดับชาติของ ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในทุกประเทศที่ครอบคลุมอยู่ในการสารวจ Gallup World Poll ( มากกว่า 140 ประเทศ ในทุก ๆ ปี ครอบคลุม 90% ของประชากรโลก) ในประเทศส่วนใหญ่ กลุ่มตัวอย่างนั้นมีประมาณ 1000 คน (โดยปรับให้ กลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 3000 คน สาหรับประเทศอินเดียและ 5000 คนสาหรับประเทศจีนแผ่นดินใหญ่) การสารวจระดับชาติอื่น ๆ ที่เก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับ FIES ก็มีอยู่ ในสหรัฐอเมริกา HFSSM นั้นถูกรวมเข้าไปใน เอกสารเพิ่มเติมว่าด้วยการสารวจประชากรในปัจจุบันเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ( Current Population Survey Food Security Supplement: CPS-FSS) โดยสานักงานสามะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 (CPS- FSS เข้าถึงประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเป็นจานวนประมาณ 83,000 คนใน 42,000 ครัวเรือนในปี พ.ศ. 2557) ในประเทศบราซิล ข้อมูลถูกเก็บทุก ๆ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ในการสารวจรายครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างระดับชาติ ( the Pesquisa Nacional de Amostra de Domicílios: PNAD) จัดสารวจโดยสถาบันด้านภูมิศาสตร์และสถิติแห่งบราซิล ( the Escala Brasileira de medida de Insegurança alimentar: EBIA) ( ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างครอบคลุม ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 280,000 คนในครัวเรือนกว่า 116,000 ครัวเรือน) ในประเทศเม็กซิโก ระบบการวัดอาหารปลอดภัยของเม็กซิโก ( the Escala Mexicana de Seguridad Alimentaria: EMSA) ถูกผนวกเข้าไปในการสารวจรายได้และรายจ่ายครัวเรือนระดับชาติ ( Encuesta Nacional de Ingresos y gastos de los Hogares: ENIGH) โดยสถาบันสถิติและภูมิศาสตร์แห่งชาติ ( Instituto Nacional de Estadística y Geografía: INEGI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ( ในปี พ.ศ. 2555 กลุ่มตัวอย่างครอบคลุมประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 24,000 คน ในครัวเรือนกว่า 9,000 ครัวเรือน) ท้ายที่สุด ในประเทศกัวเตมาลา ระบบการวัดความั่นคงทางอาหารของภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน ( Escala Latinoamericana y Caribena de Seguridad Alimentaria: ELCSA) ถูกรวมเข้าไปในการสารวจสภาวะการใช้ชีวิต ( Encuesta de Condiciones de Vida: ENCOVI) ในปี พ.ศ. 2554 ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างเกือบ 13,000 ครัวเรือนและ จานวนรวมประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 40,000 คน การเก็บข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ในระดับนานาชาติสาหรับการติดตามระดับโลก: เพื่อให้แน่ใจถึงความเปรียบเทียบกันได้ของตัวชี้วัด FImod+sev และ FIsev ที่ถูกคานวณสาหรับกลุ่มประชากรที่ แตกต่างกัน ค่าแบ่งระดับสากลถูกนิยามบนฐานของมาตรวัดอ้างอิงระดับโลกของ FIES และถูกแปลงเป็นค่าที่เกี่ยวข้อง ในมาตรวัดระดับ “ ท้องถิ่น ” ที่ได้มาในฐานะที่เป็นผลของการประยุกต์ใช้แบบจาลอง Rasch กับประชากรที่จาเพาะ เจาะจงกลุ่มหนึ่ง ๆ ผ่านกระบวนการ “ ทาให้เท่ากัน ” (equating) การทาให้เท่ากัน คือ รูปแบบหนึ่งของการทาให้เป็นมาตรฐาน ( standardization) ของเกณฑ์ชี้วัดที่อยู่บนฐานของกลุ่ม ย่อยของหน่วยข้อมูลที่พบได้ทั่วไปใน FIES ระดับโลกและระบบการวัดจาเพาะเจาะจงที่ใช้วัดในบริบทแต่ละบริบท ระดับความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยข้อมูลที่พบได้ทั่วไปนั้นถูกใช้ในฐานะที่เป็นจุดยึดโยง ( anchoring points) สาหรับ การปรับค่าแบ่งระดับของ FIES ระดับโลกให้เข้ากับมาตรวัดระดับท้องถิ่น กระบวนการทาให้เป็นมาตรฐานทาให้มั่นใจ ว่าค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของชุดหน่วยข้อมูลที่พบได้ทั่วไปนั้นเป็นตัวเลขเดียวกันเมื่อวัดโดยมาตรวัด FIES ระดับโลกหรือระดับชาติ ความเปรียบเทียบกันได้ของ FIES ระดับโลกกับความเป็นไปได้ที่จะรวมตัวชี้วัดนี้ต้องอาศัย หน่วยข้อมูล FIES อย่างน้อย 4 หน่วยจาก 8 หน่วยเพื่อจะระบุว่าพบได้ทั่วไป

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==