Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

40 เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรม ที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 2.2: ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่าง ประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปี ภายในปี 2568 ตัวชี้วัด 2.2.1: ความชุกของภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ตามมาตรฐานการ เจริญเติบโตในเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปี ขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไป จากค่ามัธยฐาน โดยเป็นเด็กที่มีความสูงเทียบกับอายุต ่ ากว่าค่ามัธยฐานของความสูงตามเกณฑ์อายุน้อยกว่า - 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (- 2 SD) ข้อมูลเชิงสถาบัน องค์กร : องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Children’s Fund: UNICEF) องค์การอนามัยโลก ( World Health Organisation: WHO) ธนาคารโลก ( World Bank: WB) แนวคิดและนิยาม นิยาม : ความชุกของภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์ อายุ ตามมาตรฐานการเจริญเติบโตในเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปีขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่ามัธยฐาน โดยภาวะแคระแกร็นคือ เด็กที่มีความสูงเทียบกับอายุต ่ ากว่าค่ามัธยฐานของความสูงตามเกณฑ์อายุน้อยกว่า -2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (-2 SD) (ภาษาฝรั่งเศส: pourcentage de sous-alimentation ; ภาษาสเปน: porcentaje de sub-alimentación) หลักการเหตุผล: ทั่วโลกต่างยอมรับว่าการเจริญเติบโตของเด็กเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะโภชนาการ ภาวะเตี้ยแคระแกร็นใน เด็กหมายถึง เด็กซึ่งมีส่วนสูงน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับอายุของพวกเขา โดยเป็นผลมาจากภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง หรือที่เกิดขึ้นซ ้ าแล้วซ ้ าอีก ภาวะเตี้ยแคระแกร็นนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตของเด็ก และยังเป็นลักษณะหนึ่งของ ความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนามนุษย์ เด็กที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพทางกายและการรู้คิด ได้อย่างเต็มที่ ภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดด้านโภชนาการของการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ( World Health Assembly) อีกด้วย แนวคิด: ไม่ปรากฏ ข้อคิดเห็นและข้อจากัด: ค่าประมาณการจากการสารวจมีระดับความไม่เสถียรอันเนื่องจากความผิดพลาดในการสุ่มตัวอย่าง และ กรณีอื่น ๆ อาทิ ความผิดพลาดในทางเทคนิคการวัดค่า ความผิดพลาดในการบันทึก เป็นต้น ความผิดพลาดทั้ง 2 นี้ไม่ได้ถูกนามา พิจารณาอย่างเต็มที่ในการจัดทาค่าประมาณการทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ ระดับโลก

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==