Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata
46 เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรม ที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 2.2: ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่าง ประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปี ภายในปี 2568 ตัวชี้วัดที่ 2.2.2: ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ (ประเมินน ้ าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ตามมาตรฐานการ เจริญเติบโตในเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปี ขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไป จากค่ามัธยฐาน โดย 1) ภาวะน ้ าหนักเกิน ( Overweight) น ้ าหนักตัวของเด็กสูงกว่าค่ามัธยฐานของน ้ าหนัก ตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (+2 SD) 2) ภาวะผอม ( Wasting) น ้ าหนักตัว ของเด็กต ่ ากว่าค่ามัธยฐานของน ้ าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กน้อยกว่า -2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (-2 SD) ข้อมูลเชิงสถาบัน องค์กร: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Children’s Fund: UNICEF) องค์การอนามัยโลก ( World Health Organisation: WHO) ธนาคารโลก ( World Bank: WB) แนวคิดและนิยาม นิยาม : ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ (ประเมินน ้ าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง <-2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากมาตรฐานการ เจริญเติบโตในเด็กขององค์การอนามัยโลก ( WHO)) ในกลุ่มเด็กอายุต ่ ากว่า 5 ปี หลักการและเหตุผล: ทั่วโลกต่างยอมรับว่าการเจริญเติบโตของเด็กเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะโภชนาการ ภาวะ ผอมในเด็ก หมายถึง เด็กที่ผอมเกินไปเมื่อเทียบกับส่วนสูงและส่งผลให้เกิดการสูญเสียน ้ าหนักอย่างรวดเร็วหรือไม่สามารถเพิ่ม น ้ าหนักได้ เด็กที่มีภาวะผอมแห้งแบบปานกลางหรือรุนแรงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการตาย แต่ถึงกระนั้นการรักษาก็ เป็นไปได้ ภาวะผอมในเด็กเป็นเป้าหมายหนึ่งในตัวชี้วัดภาวะทางโภชนาการของสมัชชาอนามัยโลก แนวคิด: ตัวชี้วัดทางการของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษคือภาวะผอมโดยประเมินจากน ้ าหนักต่อส่วนสูง ภาวะผอมยัง สามารถถูกประเมินโดยใช้เส้นรอบวงของแขนท่อนบนตอนกลาง ( mid upper arm circumference: MUAC) ได้อีกด้วย ค่าประมาณการภาวะผอมโดยใช้ MUAC จะไม่ถูกรวมเข้ามาในชุดข้อมูลร่วม นอกจากนี้ ในขณะที่ภาวะผอมเป็นส่วน หนึ่งของรูปแบบหลัก ๆ ของภาวะทุพโภชนาการรุนแรง ระดับปานกลาง ( Moderate acute malnutrition: MAM) ก็ยังมี เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงที่อาจจะไม่ถูกตรวจพบด้วยสัดส่วนน ้ าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงหรือ MUAC นั่นคือผู้ที่ มีภาวะบวมน ้ าแบบสองขั้ว (มีอาการบวมที่เท้า หน้า และแขนขา) สาหรับการสารวจที่รายงานกรณีภาวะบวมน ้ านั้นจะ ถูกรวมเข้าไปในชุดข้อมูลร่วมที่ว่าด้วยความชุกของผู้ที่มีสัดส่วนน ้ าหนักต่อส่วนสูงต ่ า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==