Guideline for Child Related SDGs Indicators's Metadata

93 มากที่สุด โดยเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษนั้นเป็นที่เข้าใจกันว่ามาจากการเผาไม้ถ่านหิน มูลสัตว์ ถ่าน และของเสียจากพืช รวมถึงน ้ ามันก๊าซ ข้อคิดเห็นและข้อจากัด: การประมาณการผลกระทบร่วมกันของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ นั้นมีความเป็นไปได้ หากความเป็นอิสระต่อกันและความมี สหสัมพันธ์ในระดับต ่ าระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ กับผลกระทบต่อโรคเดียวกันสามารถเป็นข้อสมมติได้ ( Ezzati et al, 2003) อย่างไรก็ตามสาหรับปัญหามลพิษทางอากาศ มีข้อจากัดในการประมาณการผลกระทบร่วมคือ: ความรู้ที่จากัด เกี่ยวกับการกระจายตัวของประชากรที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศทั้งในครัวเรือนและภายนอกบ้าน สหสัมพันธ์ระหว่าง การสัมผัสมลพิษระดับบุคคลเนื่องจากมลพิษทางอากาศในครัวเรือนเป็นหนึ่งในสาเหตุของมลพิษในบรรยากาศภาย นอกบ้านและการปฏิสัมพันธ์กันแบบไม่เป็นเส้นตรงของปัจจัยเหล่านี้ ( Lim et al, 2012; Smith et al, 2014) อย่างไรก็ดี ในหลายภูมิภาค มลพิษทางอากาศจากภายในครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในชนบท ในขณะที่มลพิษทาง อากาศภายนอกมักจะเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในเมือง ในบางทวีป หลายๆ ประเทศก็ไม่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ ทางอากาศภายในครัวเรือนแต่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมลพิษทางอากาศภายนอก ถ้าตั้งสมมุติฐานว่ามลพิษทาง อากาศทั้งสองประเทศเป็นอิสระต่อกันและมีสหสัมพันธ์กันเล็กน้อย การประมาณการแบบหยาบ ๆ ของผลกระทบรวมก็ สามารถคานวณได้ ซึ่งจะน้อยกว่าผลรวมของผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงทั้งสองปัจจัย ระเบียบวิธี วิธีการคานวณ: การเสียชีวิตที่เป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้นนั้น สามารถถูกคานวณได้โดย ขั้นตอนแรก รวบรวมข้อมูลของความ เสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (หรือความเสี่ยงสัมพัทธ์) ของโรคที่เกิดจากการสัมผัส กับข้อมูลที่ว่ามีประชากรวงกว้างแค่ไหนที่ต้อง สัมผัสกับอากาศนี้ (เช่น ค่าเฉลี่ยรายปีของอนุภาคฝุ่นต่อสัดส่วนประชากรที่สูดอากาศเข้าไป สัดส่วนของประชากรที่ ต้องอาศัยเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษในการประกอบอาหาร) วิธีนี้ช่วยให้การคานวณ ' สัดส่วนประชากรที่ได้รับผลกระทบ ' (Population attributable fraction: PAF) ซึ่งเป็นเศษส่วน ของโรคที่พบในประชากรที่เป็นเหตุมาจากการรับอากาศมีพิษเข้าไป (เช่น ในกรณีของค่าเฉลี่ยรายปีของอนุภาคฝุ่นกับ การได้รับมลพิษจากเชื้อเพลิงสาหรับประกอบอาหาร) การนาเศษส่วนนี้ไปคูณกับจานวนการเสียชีวิตทั้งหมดที่เกิดจากโรค (เช่น จานวนการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและปอด) จะได้จานวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่เป็นผลมาจากการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงเฉพาะนั้น ๆ (ในตัวอย่างที่ให้ไว้ข้างต้น , ปัจจัย เสี่ยงคือมลภาวะทางอากาศโดยรอบและในครัวเรือน) ในการประมาณค่าผลกระทบร่วมของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ สัดส่วนประชากรที่ได้รับผลกระทบร่วม ( a joint population attributable fraction) จะต้องถูกคานวณ ดังที่อธิบายใน Ezzati et al (2003) อัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในครัวเรือนและในอากาศโดยรอบ ได้รับการประมาณการโดยยึดเอา การคานวณสัดส่วนประชากรที่ได้รับผลกระทบร่วมที่อยู่ภายใต้ข้อสมมติว่าการสัมผัสกับมลพิษที่กระจายตัวอย่างเป็น อิสระต่อกันและปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นก็เป็นอิสระต่อกันดังที่ได้อธิบายใน ( Ezzati et al, 2003) สัดส่วนประชากรที่ได้รับผลกระทบร่วม ( The joint population attributable fraction: PAF) คานวณโดยสูตร:

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==