Social Indicators 2021
20 ระบบการศึกษาของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและแบบแผนที่ชัดเจน มีการกำหนด วัตถุประสงค์ หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และมีการวัดผลที่แน่นอน การศึกษาในระบบได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา โดยการศึกษา ขั้นพื้นฐานต้องมีจำนวนปีการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็น ระดับต่างๆ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก ส่วน การศึกษานอกระบบ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจของตัวเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพ ไม่มีการ กำหนดเวลา ไม่มีข้อจำกัดเรื่องใดๆ การศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนในประเทศ อย่างยิ่ง หากส่งเสริมพัฒนาการศึกษาอยู่เสมอ ก็ย่อมจะเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด จากสถิติการศึกษาของประเทศไทย ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนและนักศึกษาทั้งสิ้น 12.7 ล้านคน โดยมีนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา 1.7 ล้านคน ระดับประถมศึกษา 4.8 ล้านคน ระดับ มัธยมศึกษา 2.3 ล้านคน มัธยมศึกษาตอนปลาย 1.9 ล้านคน และระดับอุดมศึกษา 2.1 ล้านคน เมื่อพิจารณาอัตรานักเรียนและนักศึกษาในระบบ พบว่า 3 ปีที่ผ่านมา ( ปีการศึกษา 2560 – 2562) อัตรานักเรียนระดับชั้นก่อนประถมศึกษา มีแนวโน้มลดลงจาก 118.5 คน ต่อประชากร 100 คน เป็น 113.2 คน ต่อประชากร 100 คน และอัตรานักเรียนระดับชั้นอุดมศึกษามีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน จาก 58.5 คน ต่อประชากร 100 คน เป็น 53.6 คน ต่อประชากร 100 คน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิด ที่ลดลง ตาราง 3.1 อัตรานักเรียนและนักศึกษาในระบบต่อประชากร 100 คน จำแนกตามระดับ การศึกษา ปีการศึกษา 2558 - 2562 ที่มา : สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2557-2558 ปีการศึกษา 2559-2560 และ ปีการศึกษา 2561-2562 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==