Social Indicators 2021

25 4: สุขภาพ ประเทศไทยนับว่าประสบความสาเร็จในการขยายความครอบคลุมของระบบสาธารณสุข รวมถึงการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทาให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนสามารถเข้าถึง การบริการสาธารณสุข และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้มาก ทั้งนี้ความท้าทายด้านสุขภาพ คือ ทาอย่างไร จะทาให้ประชาชนดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคมากกว่าหาวิธีในการรักษา จากข้อมูลการสารวจอนามัยและสวัสดิการของสานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในช่วง 6 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556-2562) แสดงว่า คนไทยมีอาการป่วยหรือรู้สึกไม่สบายลดลง จากร้อยละ 21.00 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 14.6 ในปี 2562 แสดงว่าคนไทยหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งการออก กาลังกาย และทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็มีส่วนน้อยที่ปฏิบัติกันอย่างจริงจัง สาเหตุมาจาก ความเครียดและพฤติกรรมในชีวิตประจาวันที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น สามารถบั่นทอนสุขภาพในระยะยาวได้ ทาให้เกิดการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง จากข้อมูลสถิติสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยในหลายโรคสาคัญเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ โรคเนื้องอก (รวมมะเร็ง) เพิ่มขึ้นจาก 1,026.1 คนต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2558 เป็น 1,228.3 คน ต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2562 ซึ่งส่งผลให้อัตราการตายจากโรคมะเร็งสูงที่สุด สาเหตุของการเสียชีวิต 5 ลาดับแรก ในปี 2562 อันดับแรกคือมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด รองลงมาคือ ปอดอักเสบ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และอุบัติเหตุจากการคมนาคม ขนส่งทางบก ตามลาดับ แผนภูมิ 4.1 อัตราผู้ป่วยในด้วยเนื้องอก (รวมมะเร็ง) ต่อประชากร 100,000 คน พ.ศ. 2558-2562 ที่มา: สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558-2562 สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==