Social Indicators 2021

43 ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสาคัญกับความเท่าเทียมทางเพศเป็นอย่างมาก จะเห็นว่า ผู้หญิงไทยทุกวันนี้มีบทบาทและความรับผิดชอบมากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นบทบาทสาคัญทาง การเมือง ทางธุรกิจ เทคโนโลยีและสังคม มีสิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตัวเอง ในบางครอบครัวมี หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้หญิง ทาหน้าที่ดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวและเลี้ยงดูบุตร การเป็นหัวหน้าครัวเรือนของครอบครัวไทย พบว่า ผู้หญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือนมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.0 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 38.9 ในปี 2562 สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงสามารถดูแล ตัวเองและครอบครัวได้ดี กล้าตัดสินใจ และมีความมั่นใจในตัวเอง อย่างไรก็ตาม หัวหน้าครัวเรือนผู้หญิงมีภาระในการดูแลบุตรหลานมากกว่าหัวหน้า ครัวเรือนที่เป็นผู้ชาย พบว่า ครัวเรือนไทยมีขนาดเล็กลงและมีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เป็นผล มาจากการย้ายถิ่นไปทางานของสมาชิกในครอบครัวหรือการหย่าร้าง โดยหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นผู้หญิง อยู่ลาพังกับบุตรถึงร้อยละ 11.6 ในขณะที่หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นผู้ชายอยู่ลาพังกับบุตร ร้อยละ 2.4 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการย้ายถิ่น พบว่า อัตราการย้ายถิ่นของผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย ในปี 2559 2560 2562 และ 2563 ส่วนในปี 2561 อัตราการย้ายถิ่นของผู้ชายและผู้หญิงไม่แตกต่างกัน 6: หญิงชาย แผนภูมิ 6.1 โครงสร้างครัวเรือน จาแนกตามเพศของหัวหน้าครัวเรือน พ.ศ. 2563 ที่มา : ประมวลผลจากสารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2563 สานักงานสถิติแห่งชาติ ตาราง 6.1 อัตราการย้ายถิ่น จาแนกตามเพศ พ.ศ. 2559-2563 ที่มา : สารวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ. 2559-2563 สานักงานสถิติแห่งชาติ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==