Report IMD 2019

1-1 1. บท นำ 1.1 ควำมเป็นมำ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมาย การพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ “ต่อยอดอดีต” “ปรับปัจจุบัน” และ “สร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต” ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถใน การแข่งขัน ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ สาคัญในการสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันในเวทีโลก สาหรับความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ (National Competitiveness) หมายถึง ขีดความสามารถและผลประกอบการของ ประเทศในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ ซึ่งการประเมินขีดความสามารถ ทางการแข่งขันนั้น จะช่วยให้เข้าใจถึงจุดเด่นและจุดด้อยของประเทศในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน และสามารถพัฒนาประเทศในเชิงแข่งขันในเวทีโลกได้ องค์กรที่ท าการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก มีหลายองค์กร และมี การจัดอันดับประเทศในหลากหลายด้าน การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่ยอมรับมาก ได้แก่ การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลก ( World Competitiveness Ranking) โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ดัชนีความสามารถในการแข่งขันรวม (The Global Competitiveness Index : GCI) โดยสภาเศรษฐกิจโลกหรือ เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economic Forum: WEF) รวมทั้งอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจใน ประเทศต่างๆ (Doing Business) โดยธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งแต่ละสถาบันจะมีหลักเกณฑ์หรือ วิธีการ จัดอันดับที่แตกต่างกันไป และในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบัน IMD WEF และ World Bank ในแต่ละปีจะมีการใช้ข้อมูลจากรายงานสถิติ (Secondary data หรือ Hard data) ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ในประเทศและจากองค์กรระหว่างประเทศ และข้อมูลจากการ สารวจความคิดเห็นหรือทัศนคติของผู้เชี่ยวชาญและ ผู้บริหารระดับสูงประกอบกัน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศในองค์รวม หนึ่งในภารกิจของ สานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) คือ การเป็นศูนย์กลางข้อมูลของประเทศ และจาก มติคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ สานักงานสถิติแห่งชาติ ท าหน้าที่ปรับปรุงระบบข้อมูลตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Data Set) ของประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลตัวชี้วัดที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นระบบที่ได้มาตรฐานสากล ทั้งประเทศ สสช. จึงได้ศึกษาตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการจัดอันดับขีดความสามารถใน การแข่งขันของสถาบัน IMD และข้อมูลในประเทศไทยที่จะสนับสนุนตัวชี้วัดเหล่านี้ รวมทั้งหารือร่วมกับหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่รับผิดชอบข้อมูลภายในประเทศ เพื่อรวบรวมรายละเอียดและข้อจ ากัดที่มีเกี่ยวกับตัวชี้วัด ซึ่งข้อค้นพบและ ข้อสังเกตที่ได้จากการศึกษาจะใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน ในการด าเนินการจัดระบบข้อมูลเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศต่อไป ทั้งนี้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ได้ กาหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายใน ปี 2580 ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก สถาบัน IMD 4 ตัวชี้วัด ได้แก่

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==