Report IMD 2019
6 - 2 6. ระเบียบวิธีสถิติ (ค านิยาม/ค าอธิบาย/วิธีการค านวณ) จากการศึกษา พบว่า รายการ ตัวชี้วัดหลายรายการของสถาบัน IMD ไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่หน่วยงานได้จัดทาทั้งคา นิยาม/คาอธิบาย/วิธีการคานวณที่ได้ใช้กันภายในประเทศ ซึ่งหน่วยงานอาจจะต้องจัดทา ตัวชี้วัดขึ้นมาใหม่ เช่น “Infant mortality” (under five mortality rate per 1000 live births), Medical assistance และ CO 2 emission 7. ข้อจากัดในการเข้าถึง สถาบัน IMD อ้างอิงแหล่งข้อมูลสถิติ/ตัวชี้วัดของหน่วยงาน ระหว่างประเทศหรือสถาบันเอกชน แต่ไม่สามารถเข้าไปสืบค้นรายละเอียดได้ เนื่องจากมี การจากัดสิทธิ์หรือมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล 6.2 สรุปข้อเสนอแนะ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยการประสานความ ร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐที่ทาหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย และภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในการ ให้คะแนนความคิดเห็นในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งภาคประชาสังคมให้มีความเข้าใจ และเห็นประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐควรมีการส่งเสริม สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการลงทุน โดยเน้นการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในด้านต่างๆ เพื่อ อานวยความสะดวกต่อ การประกอบธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านวิจัยและ นวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างรวดเร็ว กล่าวโดยสรุป คือ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันและปรับตัวให้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรทุกด้านที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และภาครัฐต้องเร่งดาเนินการพัฒนา ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ทุกด้าน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้พร้อมรองรับ ปัจจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==