ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 14 สำนักงานสถิติแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประชากรไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทย เข้าสู่สังคมสูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา คือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็ก เกิดลดน้อยลง สาเหตุอาจเนื่องมาจากการอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง พฤติกรรมการมีบุตร โดยมีบุตรเฉลี่ยอยู่ที่ 1 คน หรือไม่มีเลยต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งลดลงจากในอดีต ทำให้ประชากรที่เกิดใหม่มีไม่เพียงพอที่จะ ทดแทนประชากรในรุ่นก่อนหน้า อีกทั้งอัตราการตายยังเพิ่มสูงขึ้นจาก 7.5 คนต่อประชากร 1 ,000 คน ในปี 2562 เป็น 8.9 คนต่อประชากร 1 ,000 คน ในปี 2565 ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องมาจากการเสียชีวิตก่อน วัยอันควร จากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ จากข้อมูลกรมการปกครอง เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้สูงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.0 (จำนวน 7.42 แสนคน) ในปี 2556 เป็นร้อยละ 19.2 (จำนวน 1.05 ล้านคน) ในปี 2566 และสัดส่วนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 (จำนวน 1.35 แสนคน) ในปี 2556 เป็นร้อยละ 3.7 (จำนวน 2.00 แสนคน) ในปี 2566 อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง แผนภูมิ 3 สัดส่วนประชากร จำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2556 และ 2564 - 2566 หมายเหตุ: สัดส่วนประชากร = จำนวนประชากรในแต่ละช่วงอายุ x 100 จำนวนประชากรทั้งหมด ที่มา : กรมการปกครอง คำนวณโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==