ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 15 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อพิจารณาอัตราการเพิ่มของประชากร พบว่า ปี 2566 ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในกรุงเทพมหานคร มีอัตราการเพิ่มของประชากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.32 (จาก 1.21 ล้านคนในปี 2565 เป็น 1.25 ล้านคนในปี 2566) ในขณะที่ประชากรในกลุ่มวัยเด็ก (อายุ 0 - 14 ปี) และวัยแรงงาน (อายุ15 – 59 ปี) มีอัตราการเพิ่มของประชากรลดลง โดยประชากรกลุ่มอายุ 0 - 14 ปี ลดลงร้อยละ 3.73 (จาก 7.60 แสนคน ในปี 2565 เป็น 7.32 แสนคนในปี 2566) กลุ่มอายุ 15 - 29 ปี ลดลงร้อยละ 2.20 (จาก 1.02 ล้านคน ในปี 2565 เป็น 1.00 ล้านคนในปี 2566) และกลุ่มอายุ 30 - 59 ปี ลดลงร้อยละ 0.57 (จาก 2.50 ล้านคน ในปี 2565 เป็น 2.49 ล้านคนในปี 2566) ตามลำดับ แผนภูมิ 4 อัตราการเพิ่มของประชากร จำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2566 หมายเหตุ: อัตราการเพิ่มของประชากร (r) = [Ln ( P n /P o )/t] x 100 เมื่อ P n คือ จำนวนประชากรปีใดๆแต่ละกลุ่มอายุ P o คือ จำนวนประชากรปีฐานแต่ละกลุ่มอายุ (ปีก่อนหน้าปีใดๆ 1 ปี) t คือ ระยะห่างระหว่างปีฐานถึงปีใดๆ และ Ln คือ log e ที่มา : กรมการปกครอง คำนวณโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ การที่ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นผลทำให้ขาดแคลนประชากรวัยแรงงานตามมา ส่งผลให้ ความสามารถในการผลิตลดลง ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อบุคคลและมาตรฐานการครองชีพ ของประชากรลดน้อยลง การลงทุน การออมลดน้อยลง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลต้อง สนับสนุนงบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา เช่น ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง หรือถูกละเลยการดูแลเอาใจใส่ ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนจึงควรร่วมมือกัน ให้ความสำคัญกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำมากขึ้น มีการเตรียมการ วางแผนการออม วางแผนก่อนเงินก่อนเกษียณ วางแผนการใช้ชีวิตในบั้นปลาย ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมี คุณค่าและไม่เป็นภาระของสังคมต่อไปในอนาคต เมื่อพิจารณาอัตราการเป็นภาระของประชากรวัยสูงอายุในกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ในปี 2564 พบว่า ประชากรวัยแรงงาน (15 – 59 ปี) 100 คน ต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป) 33 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 36 คน ต่อวัยแรงงาน 100 คน ในปี 2566 โดยคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกในอนาคต ในขณะที่อัตราการเป็นภาระวัยเด็ก (ผู้ที่มีอายุ 0 – 14 ปี) พบว่า มีแนวโน้มลดลง จาก 22 คน ต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน ในปี 2564 เป็น 21 คน ต่อวัยแรงงาน 100 คน ในปี 2566

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==