ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 21 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยีและระบบควบคุม อัตโนมัติ (ระบบ Automation ) และเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมา แทนที่แรงงานมนุษย์ ส่งผลให้การจ้างงานลดลง ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และสาธารณสุข ทำให้อายุเฉลี่ย ของประชากรยืนยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สภาพสังคมและ เศรษฐกิจ ทำให้ครัวเรือนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีบุตร ทำให้เด็กเกิดน้อยลง เกิดการขาดแคลนประชากร วัยแรงงาน ซึ่งจำนวนแรงงานอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ข้อมูลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พบว่า อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ของประชากรกรุงเทพมหานครยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 69.7 ปี 2562 เป็นร้อยละ 72.5 ปี 2566 สอดคล้องกับอัตราการมีงานทำที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98.7 ปี 2562 เป็นร้อยละ 99.0 ปี 2566 ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1.2 ปี 2562 เป็นร้อยละ 1.0 ปี 2566 สำหรับปี 2563 และ 2564 ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ส่งผลให้ประชาชนตกงาน มากขึ้น ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 2.0 และ 3.7 ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมในกรุงเทพมหานครยังคงมีการจ้างงาน อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสวนทางกับพื้นที่อื่นที่อัตราการมีงานทำลดน้อยลง จึงส่งผลให้มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามา ทำงานในกรุงเทพมหานครมากขึ้น ตาราง 1 จำนวนประชากร จำแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2562 - 2566 หมายเหตุ 1/ ได้แก่ ยังเด็กหรือชรา ป่วย พิการจนไม่สามารถทำงานได้ ต้องการพักผ่อน และเกษียณการทำงาน อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน = (ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน x 100 ) / ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อัตราการมีงานทำ = (ผู้มีงานทำ x 100 ) / ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน อัตราการว่างงาน = (ผู้ว่างงาน x 100 ) / ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน ที่มา : สำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2562 - 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ๒ . แรงงาน ( Labor Force)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==