ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 26 สำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษาเป็นหนทางแห่งการพัฒนาชีวิตและสร้างความมั่นคง เมื่อประชาชนในประเทศได้รับ การศึกษาที่ดี มีคุณภาพ หรือสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึงก็จะส่งผลให้สามารถพัฒนาตนเองให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ และมีศักยภาพที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้ให้ ความสำคัญและพัฒนาด้านการศึกษามาโดยตลอด มีกฎหมายให้เด็กต้องได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาค บังคับหรือชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน รวมถึงการศึกษาตามอัธยาศัย และ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ดำเนินมาจนถึงฉบับที่ 13 ได้กำหนดนโยบาย การพัฒนาคนสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ได้มาตรฐานสากล ทำการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพิ่ม โอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้และเพิ่มพูน ทักษะด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ระบบการศึกษาของประเทศไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มีการจัดระบบการศึกษาเป็นขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6 - 3 - 3 นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบ โรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ การศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้น อุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งมีจำนวนปีการศึกษารวมไม่น้อยกว่า 12 ปี และการศึกษาขั้นอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความ ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและ ประเมินผล โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของ บุคคลแต่ละกลุ่ม การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้ อื่นๆ ไม่มีกำหนดเวลา ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในปี 2565 กรุงเทพมหานคร มีสถานศึกษาในระบบโรงเรียนอยู่ทั้งสิ้น 1 ,355 แห่ง ส่วนใหญ่ เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ 556 แห่ง (ร้อยละ 41.0) รองลงมาเป็นสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย 438 แห่ง (ร้อยละ 32.3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 159 แห่ง (ร้อยละ 11.7) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 87 แห่ง (ร้อยละ 6.4) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 83 แห่ง (ร้อยละ 6.1) และ สังกัดอื่น ๆ 32 แห่ง (ร้อยละ 2.4) ๓ . การศึกษา ( Education)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==