ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 29 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความง่าย ๆ เป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานที่สุดที่เด็ก สามารถเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศพบว่ามีเด็กที่ได้เรียนในโรงเรียนนานถึง 6 ปี แต่ไม่สามารถ อ่านและเข้าใจข้อความง่าย ๆ ได้ดังที่ปรากฏในผลการประเมินระดับภูมิภาค เช่น โครงการวัดผลการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( the Southeast Asia Primary Learning Metrics: SEA-PLM) ห้องปฏิบัติการละตินอเมริกาสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ( the Latin American Laboratory for Assessment of the Quality of Education: LLECE) โครงการวิเคราะห์ระบบการศึกษาขององค์กร CONFEMEN (the Analysis Programme of the CONFEMEN Education Systems (PASEC)) 16 และ สมาคมตรวจสอบคุณภาพการศึกษาในแอฟริกาใต้และตะวันออก ( the Southern and Eastern Africa Consortium for Monitoring Educational Quality: SACMEQ) การเรียนรู้หนังสือตั้งแต่ชั้นปีแรก ๆ ของ ระดับประถมศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากการเรียนรู้นี้จะเป็นเรื่องยากขึ้นในชั้นปีหลัง ๆ สำหรับผู้ที่เรียนไม่ทัน จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ที่มีการประเมินทักษะการอ่านใช้ เนื้อเรื่องสั้น ๆ และคำถามทดสอบความเข้าใจ 5 ข้อ (ความเข้าใจตามตัวอักษร 3 ข้อ และการตีความ 2 ข้อ) พบว่า ร้อยละของเด็กกรุงเทพมหานคร อายุ 7 - 14 ปี ที่อ่านคำศัพท์ในเนื้อเรื่องถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 90 คิดเป็นร้อยละ 91.0 เด็กที่ตอบคำถามถูกต้อง (เกี่ยวกับความเข้าใจตามอักษร 3 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 89.0 เกี่ยวกับการตีความ 2 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 81.1) และเด็กที่มีทักษะการอ่านขั้นพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 80.5 แผนภูมิ 23 ร้อยละของเด็กกรุงเทพมหานคร อายุ 7 - 14 ปี ที่มีทักษะการอ่านขั้นพื้นฐาน จำแนกความสำเร็จในการทำกิจกรรมการอ่านขั้นพื้นฐานเป็นภาษาไทย 3 กิจกรรม พ.ศ. 2565 ที่มา : สำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==