ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 31 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทยมีการขยายความครอบคลุมของระบบสาธารณสุข ขยายการให้บริการสุขภาพใน ระดับต่างๆ ทั้งในส่วนของบริการสุขภาพระดับต้น หรือระดับปฐมภูมิ ( Primary care) ที่ให้บริการสุขภาพแก่ ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพทั่วไป และการป้องกันโรค ได้แก่ สถานี อนามัยและโรงพยาบาลชุมชน หรือระดับตติยภูมิ ( Tertiary care) ที่เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการ รักษาพยาบาลในโรคที่มีความสลับซับซ้อน ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ และต้องใช้เครื่องมือทาง การแพทย์ที่มีราคาแพง รวมถึงการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย ฐานะยากจน สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และลดค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพได้มาก ทั้งนี้ เป้าหมายความท้าทายด้านสุขภาพของประเทศไทย คือ หาแนวทางทำให้ประชาชนดูแล สุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมากกว่าหาวิธีในการรักษา จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พบว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562 - 2566) ประชากรชาวกรุงเทพมหานครมีอาการป่วยลดลง จากร้อยละ 16.08 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 14.62 ในปี 2566 แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลสถิติสาธารณสุข พบว่ามีอัตราการป่วยในหลายโรคที่สำคัญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ โรคมะเร็งและเนื้องอก ซึ่งส่งผลให้อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งสูงที่สุด จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในเขตบริการสุขภาพกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 833 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.4 ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งประเทศ เป็นเพศชาย ร้อยละ 40.8 และเพศหญิง ร้อยละ 59.2 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับปี 2563 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2 (จาก 823 คน ในปี 2563 เป็น 833 คน ในปี 2564) สาเหตุส่วนใหญ่อาจเนื่องมาจากความเครียดและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ ไม่เหมาะสม ทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย รวมทั้งพฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารไขมันสูง หรือรับประทานอาหารแปรรูปต่างๆ การไม่รับประทันผัก ผลไม้ เป็นต้น สามารถ บั่นทอนสุขภาพในระยะยาว ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ แผนภูมิ 25 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ จำแนกตามเพศ เขตบริการสุขภาพ พ.ศ. 2563 - 2564 ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ๔ . สุขภาพ ( Health)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==