ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 33 สำนักงานสถิติแห่งชาติ บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4 , 000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและสารก่อมะเร็ง เช่น นิโคติน ปรอท อะลูมิเนียม สารหนู เบนซิน ตะกั่ว เป็นต้น การสูบบุหรี่จึงก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ มีโทษต่อร่างกายหลายด้าน นำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ หลากหลายที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต ส่งผลทั้งต่อตัวผู้สูบเอง ครอบครัวและคนรอบข้างที่ได้รับจากการสูดดมควัน บุหรี่ ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งต่างๆ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ การเสื่อม สมรรถภาพทางเพศ เพิ่มโอกาสเกิดภาวะแท้งในหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น ในปัจจุบันคนหันมานิยมสูบบุหรี่ไฟฟ้า กันมากขึ้น เพราะเชื่อว่ามีอันตรายน้อยกว่า ซึ่งแท้จริงแล้วนั้น บุหรี่ไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่ระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่ กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้ หรือบางงานวิจัยก็บอกว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินมากกว่าบุหรี่ธรรมดาถึง 2 เท่า ทั้งนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าต้องห้าม หากผู้ใดมีไว้ใน ครอบครอง ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย จากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร และการ สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พบว่า การสูบบุหรี่ของคนไทยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 19.9 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 17.4 ในปี 2564 ในขณะที่การสูบบุหรี่ของประชากรในกรุงเทพมหานครสวนทาง กับภาพรวมของประเทศ คือ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 13.8 (จำนวน 1.01 ล้านคน) ในปี 2556 เป็น ร้อยละ 16.1 (1.23 ล้านคน) ในปี 2564 แผนภูมิ 26 ร้อยละของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามลักษณะการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2556 - 2564 ที่มา : ปี 2556 และ 2558 จาก สำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2556 และ 2558 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 และ 2560 จาก สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 และ 2560 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 จาก สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==