ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 34 สำนักงานสถิติแห่งชาติ การดื่มสุราเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ หากดื่มเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย และมีสาเหตุทำให้เกิดโรค ร้ายต่างๆ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดโทษต่อสังคม เช่น เกิด อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ การทะเลาะวิวาท เป็นต้น จากการสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ประชากรกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มดื่มสุราลดลง จากร้อยละ 30.4 (2.24 ล้านคน) ในปี 2556 เป็นร้อยละ 27.2 (2.09 ล้านคน) ในปี 2564 แผนภูมิ 27 ร้อยละของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ดื่มสุรา พ.ศ. 2556 - 2564 ที่มา : ปี 2556 และ 2558 จาก สำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2556 และ 2558 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 และ 2560 จาก สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 และ 2560 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 จาก สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ การดูแลสุขภาพของผู้หญิงในขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการดูแลเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพใจ การดูแลเรื่องอาหารการกิน การฝากครรภ์ เป็นต้น เพื่อการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทั้งต่อแม่และเด็ก มีสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ และเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ การเสียชีวิตของมารดาและทารก บ่งชี้ถึงการเข้าถึง บริการอนามัยแม่และเด็ก สะท้อนถึงความเป็นอยู่ของผู้หญิง การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเข้าถึง บริการด้านสุขภาพ จากสถิติสาธารณสุข พบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีอัตราการตายของมารดาต่อเด็กมีชีพ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 12.1 คน ต่อเด็กเกิดมีชีพ 100 ,000 คน ในปี 2560 เป็น 35.8 คน ต่อเด็ก เกิดมีชีพ 100 , 000 คน ในปี 2564 แผนภูมิ 28 อัตราการตายของมารดาต่อเด็กมีชีพ 100 , 000 คน พ.ศ. 2560 - 2564 ที่มา : สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560 - 2564 สำนักงานปลัดสาธารณสุข
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==