ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566

ข้อมูลสถิติกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2566 40 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปัจจุบันประชาชนคนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความ เท่าเทียมทางเพศ ซึ่งก็คือการไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมือง แหล่งกำเนิดหรือสถานะอื่นๆ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และ อิสรภาพของมนุษยชนพื้นฐาน เกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์ และสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี ความเสมอภาคทางเพศไม่ได้หมายถึงการที่ผู้หญิงและผู้ชายเหมือนกัน แต่หมายถึง การมี ศักยภาพในการใช้โอกาสในสังคมและชีวิตที่เท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยก กีดกัน จำกัด ต่อเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งด้วยเหตุทางเพศ จึงเห็นได้ว่าผู้หญิงไทยทุกวันนี้มีบทบาทความรับผิดชอบมากขึ้นกว่าในอดีต เทียบเท่ากับผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทสำคัญทางการเมือง ทางธุรกิจ เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม มีสิทธิ เสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง ในบางครอบครัว ผู้หญิงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ดูแลรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวและเลี้ยงดูบุตรด้วย การเป็นหัวหน้าครัวเรือนของครอบครัวกรุงเทพมหานคร พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหัวหน้า ครัวเรือนเป็นผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 37.9 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 43.3 ในปี 2565 แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงกรุงเทพมหานครสามารถดูแลตนเองและรับผิดชอบดูแล ครอบครัว บุตรหลานได้เป็นอย่างดี แผนภูมิ 33 ร้อยละของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามเพศ พ.ศ. 2562 - 2565 ที่มา : สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2564 - 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนกรุงเทพมหานครมีขนาดเล็กลง และมีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น โดยเป็นครัวเรือนที่มีสมาชิก 1 - 2 คน ร้อยละ 67.2 ซึ่งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.8 ในปี 2562 ครัวเรือนที่มีสมาชิก 3 - 4 คน ร้อยละ 27.3 ลดลงจากร้อยละ 34.8 ใน ปี 2562 ครัวเรือนที่มีสมาชิก 5 - 7 คน ร้อยละ 5.5 ลดลงจากร้อยละ 8.2 ในปี 2562 และครัวเรือนที่มี สมาชิก 8 คนขึ้นไป ร้อยละ 0.1 ลดลงจากร้อยละ 0.2 ในปี 2562 เป็นผลมาจากการย้ายถิ่นไปทำงานของ สมาชิกในครอบครัวหรือการหย่าร้าง ๖ . หญิงชาย ( Gender)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==